Categories
Uncategorized

AEX 1623 : คาราคุริ กลไกอัตโนมัติอย่างง่ายเพื่อการปรับปรุงผลิตภาพ KARAKURI : Automation for Productivity Improvement

AEX 1623 : คาราคุริ กลไกอัตโนมัติอย่างง่ายเพื่อการปรับปรุงผลิตภาพ KARAKURI : Automation for Productivity Improvement

Room  :   FACTORY PRODUCTIVITY

วันที่ / เวลา  :  16 มีนาคม 2565 / เวลา 13.15 น. – 16.00 น.

วิทยากร

ผู้เชี่ยวชาญจาก TOYOTA

หลักการและเหตุผล

ถอดบริบทวิถีการผลิตในแบบฉบับของโตโยต้า บริษัทผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของโลกแบบ Insight กับแนวทางและปัจจัยสู่ความสำเร็จ ที่ทำให้โตโยต้ายืนหนึ่งมาจนถึงทุกวันนี้

เนื้อหาการสัมมนา

  • หลักการของการทำ Karakuri Kaizen และกลไกพื้นฐานของ Karakuri Kaizen
  • ตัวอย่าง Karakuri ในโรงงานโตโยต้า

กลุ่มเป้าหมาย

  • Business Owner / เจ้าของธุรกิจ
  • General Manage / ผู้จัดการทั่วไป
  • Plant Manager / ผู้จัดการฝ่ายโรงงาน
  • Manufacturing Manager / ผู้จัดการฝ่ายผลิต
  • Engineer / วิศวกร
Categories
Uncategorized

AEX 1622 : Boost Up Maintenance for Zero Breakdown

AEX 1622 : Boost Up Maintenance for Zero Breakdown

Room  :   SMART FACTORY MAINTENANCE

วันที่ / เวลา  :   16 มีนาคม 2565 / เวลา 13.15 น. – 16.00 น.

วิทยากร

คุณวินัย เวชวิทยาขลัง
วิทยากรที่ปรึกษาวางระบบบำรุงรักษาTPM และPM บริษัทชั้นนำ

หลักการและเหตุผล

เข้าถึงแนวคิดสำคัญ PM 4.0 พร้อมทำความรู้จักเครื่องมือที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง ผ่านกรณีศึกษาที่ผู้ประกอบการสามารถทำได้

เนื้อหาการสัมมนา

  • เมื่อการซ่อมบำรุง ไม่ใช่เฉพาะแค่ PM
  • กลยุทธ์ในการยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพงานซ่อมบำรุง
  • เทคนิคที่สามารถช่วยทำให้เครื่องจักรเสียเป็นศูนย์ (Zero Breakdown)

กลุ่มเป้าหมาย

  • Maintenance Manager / ผู้จัดการฝ่ายซ่อมบำรุง
  • General Manage / ผู้จัดการทั่วไป
  • Plant Manager / ผู้จัดการฝ่ายโรงงาน
  • Manufacturing Manager / ผู้จัดการฝ่ายผลิต
  • Production Control Manager / ผู้จัดการฝ่ายควบคุมการผลิต
  • Engineer (Repair & Maintenance) / วิศวกรซ่อมบำรุง
Categories
Uncategorized

AEX 1621 : Projection for 2022 Manufacturing Trends ถอดรหัสเทรนด์การผลิตปี 2022

AEX 1621 : Projection for 2022 Manufacturing Trends ถอดรหัสเทรนด์การผลิตปี 2022

Room  : ROBOTICS & AUTOMATION

วันที่ / เวลา  :  16 มีนาคม 2565 / เวลา 13.15 น. – 16.00 น.

วิทยากร

คุณนวชัย เกียรติก่อเกื้อ / ADVANCE INFO SERVICE PLC.
คุณเกษมสันต์ เครือธร / DELTA ELECTRONICS (THAILAND) PCL.   
คุณวุฒิพงศ์ บุญนายวา / ผู้จัดการส่วนบริหารการผลิต สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
คุณธีระ กิตติธีรพรชัย / GREENWORLD MEDIA PLATFORM

หลักการและเหตุผล

ถอดประสบการณ์การผลิต 2021 ที่ต้องฝ่าวิกฤตสู่การแข่งขันในปี 2022 ผ่านมุมมองที่หลากหลายและเทคโนโลยีที่จะช่วยรับมือกับความท้าทายในยุค Digital Disrupt

เนื้อหาการสัมมนา

  • สถานการณ์ภาพรวมการแข่งขันของการผลิตในปีที่ผ่านมา
  • แนวโน้มสถานการณ์การแข่งขันที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2022
  • โซลูชันและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะเข้ามาแก้ปัญหาให้กับภาคการผลิต

กลุ่มเป้าหมาย

  • Business Owner / เจ้าของธุรกิจ
  • General Manage / ผู้จัดการทั่วไป
  • Plant Manager / ผู้จัดการฝ่ายโรงงาน
  • Manufacturing Manager / ผู้จัดการฝ่ายผลิต
  • Engineer / วิศวกร
Categories
Uncategorized

AEX 1605 Purchasing Revolution 4.0 : นักจัดซื้อสมัยใหม่ที่องค์กรอยากได้ และผู้บริหารต้องการ

AEX 1605 : Purchasing Revolution 4.0 : นักจัดซื้อสมัยใหม่ที่องค์กรอยากได้ และผู้บริหารต้องการ [Onsite Only]

Room  :   SMART PURCHASING

วันที่ / เวลา  :  16 มีนาคม 2565 / เวลา 09.15 น. – 12.00 น.

[เฉพาะเข้าฟังสวนนงนุชเท่านั้น]

วิทยากร

คุณอกนิษฐ์ สมิตะพินทุ
นายกสมาคมบริหารงานจัดซื้อและซัพพลายเชนแห่งประเทศไทย

หลักการและเหตุผล

การวางแผนการทำงานแบบจัดซื้อยุคใหม่ ทำงานอย่างไร ให้ไม่ตกยุค สามารถนำความรู้และเทคนิคมากำหนดกลยุทธ์ รูปแบบให้ทำงานสอดคล้องกับองค์กรให้มีประสิทธะภาพและประสิทธิผล ในโลกแห่งการแข่งขันแบบ 4.0 (Industry 4.0)

เนื้อหาการสัมมนา

  • กลยุทธ์ของการจัดซื้อ 4.0 ที่จะมาปฏิวัติองค์กร
  • สิ่งสำคัญที่นักจัดซื้อยุคใหม่ต้องรู้ และนำมาปรับใช้กับองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เปิดมุมมองใหม่เพื่อก้าวสู่การเป็นจัดซื้อมืออาชีพในยุคดิจิทัล

กลุ่มเป้าหมาย

  • Purchasing, Procurement & Sourcing
  • Supplier Management
  • Supply Chain
  • Production control/Planning
  • Cost Control
  • Material Control
  • Operation/Productivity
Categories
Uncategorized

Digital Metrology ( Precision & ease of use) ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับงานมาตรวิทยาอย่างไรเพิ่มเพิ่มความสามารถในการทำงานและความสะดวกสบาย

AEX 1604 : Digital Metrology ( Precision & ease of use) ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับงานมาตรวิทยาอย่างไรเพิ่มเพิ่มความสามารถในการทำงานและความสะดวกสบาย

Room  :  QUALITY MANAGEMENT

วันที่ / เวลา  : 16 มีนาคม 2565 / เวลา 09.15 น. – 12.00 น.

วิทยากร

ดร.นฤดม นวลขาว
หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาธุรกิจ ฝ่ายนโยบายและยุทธศสาตร์
(สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ)

หลักการและเหตุผล

เพิ่มประสิทธิภาพและลดภาระงานด้านมาตรวิทยาด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างไรให้ธุรกิจมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น

เนื้อหาการสัมมนา

  • ความแตกต่างของมาตรวิทยายุคแอนะล็อกและดิจิทัล
  • เทคโนโลยีมาตรวิทยายุคดิจิทัลกับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดภาระของผู้เชี่ยวชาญ
  • การใช้ประโยชน์จาก IoT และ Big Data เพื่อยกระดับงานาตรวิทยา

กลุ่มเป้าหมาย

  • General Manage / ผู้จัดการทั่วไป
  • Plant Manager / ผู้จัดการฝ่ายโรงงาน
  • Manufacturing Manager / ผู้จัดการฝ่ายผลิต
  • Production Control Manager / ผู้จัดการฝ่ายควบคุมการผลิต
  • Engineer / วิศวกร
  • Quality Assurance Manager / ผู้จัดการฝ่ายประกันคุณภาพ
  • Quality Control Manager / ผู้จัดการฝ่ายควบคุมคุณภาพ
Categories
Uncategorized

AEX 1603 : TOYOTA Manufacturing Development : เจาะลึก Step by Step ในการพัฒนากระบวนการผลิต Style Toyota

AEX 1603 : TOYOTA Manufacturing Development : เจาะลึก Step by Step ในการพัฒนากระบวนการผลิต Style Toyota

Room  :  FACTORY PRODUCTIVITY

วันที่ / เวลา : 16 มีนาคม 2565  เวลา 09.15 น. – 12.00 น.

วิทยากร

ผู้เชี่ยวชาญจาก TOYOTA

หลักการและเหตุผล

เจาะลึกเทคนิคการปรับปรุงกระบวนการผลิตตามแนวทาง Jishuken ในแบบฉบับของ TOYOTA ศาสตร์ที่เน้นสร้างความรู้ ทักษะ และเสริมด้วยระบบที่แข็งแกร่งอย่างยั่งยืน

เนื้อหาการสัมมนา

  • การพัฒนากระบวนการผลิตตามแนวทาง Jishuken เน้นสร้างความรู้ ทักษะ และเสริมด้วยระบบที่แข็งแกร่งอย่างยั่งยืน ในแบบฉบับของโตโยต้า 
  • Case Study : ศึกษาจากต้นแบบความสำเร็จของโตโยต้า

กลุ่มเป้าหมาย

  • Business Owner / เจ้าของธุรกิจ
  • General Manage / ผู้จัดการทั่วไป
  • Plant Manager / ผู้จัดการฝ่ายโรงงาน
  • Manufacturing Manager / ผู้จัดการฝ่ายผลิต
  • Engineer / วิศวกร
Categories
Uncategorized

AEX 1601 Low-cost Autonomous Mobile Robot with ROS : การสร้างหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติราคาต่ำด้วย ROS

AEX 1601 : Low-cost Autonomous Mobile Robot with ROS :
การสร้างหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติราคาต่ำด้วย ROS

Room   :   ROBOTICS & AUTOMATION

วันที่ / เวลา   :   16 มีนาคม 2565  / เวลา 9.15 น. – 12.00 น.

วิทยากร

คุณกษิดิศ ลีลาวิไลลักษณ์  / วิศวกรอาวุโสแผนกเทคโนโลยีโรงงานอัตโนมัติและหุ่นยนต์ สถาบันไทย-เยอรมัน

หลักการและเหตุผล

ระบบอัตโนมัติเป็นเครื่องมือสำคัญในการรับมือกับความไม่แน่นนอนและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในธุรกิจ ซึ่งระบบอัตโนมัติต้นทุนต่ำที่สามารถเข้าถึงได้ จะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันยุคปัจจุบันได้เป็นอย่างดี

เนื้อหาการสัมมนา

  • ทำความรู้จักกับ ROS (Robot Operating System)
  • ตัวอย่างการนำไปใช้งานและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กลุ่มเป้าหมาย

  • Business Owner / เจ้าของธุรกิจ
  • General Manage / ผู้จัดการทั่วไป
  • Plant Manager / ผู้จัดการฝ่ายโรงงาน
  • Manufacturing Manager / ผู้จัดการฝ่ายผลิต
  • Engineer / วิศวกร
Categories
Automation

การนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์มาใช้เพื่อกระตุ้นความก้าวหน้าในอุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติ

แม้รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเองและยานยนต์พลังไฟฟ้าเทสลาของอีลอน มัสก์ จะกลายเป็นพาดหัวข่าวไปทั่ว แต่การใช้งานระบบอัตโนมัติในโรงงานอุตาหกรรมที่เพิ่มขึ้นกลับมีคนพูดถึงน้อยมาก บางครั้งอาจเป็นเพราะเทคโนโลยีหุ่นยนต์ได้สั่นสะเทือนวงการอุตสาหกรรมมาแล้วตั้งแต่ ปี ค.ศ.1961 เมื่อเจเนรัลมอเตอร์เป็นผู้นำเทคโนโลยีนี้มาใช้เป็นครั้งแรก

Categories
Automation

โซลูชันเมื่อขาดแรงงานที่มีทักษะ?

จริงหรือที่ว่า Digitization และ Automation ไม่อาจมาแทนที่แรงงานมากทักษะซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการมากๆ ในเวลานี้ได้

ด้วยทักษะด้าน Digitisation และ Automation ของแรงงาน Skill สูงให้ความหวังว่า ตลาดแรงงานจะผ่อนคลายจากปัญหาขาดแคลนบุคลากรในเร็ว ๆ นี้ ด้วยมุมมองที่ต่างออกไป

Categories
Article Automation News

ระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติ – RPA ตัวเร่งธุรกิจ E-Logistics เปลี่ยนต้นทุนเป็นกำไร

Robotic Process Automation (RPA) เป็นซอฟต์แวร์ที่เติบโตมากที่สุด เมื่อเทียบกับซอฟต์แวร์ระดับองค์กร RPA คือ หุ่นยนต์ที่อยู่ในรูปแบบของซอฟต์แวร์เหมาะสำหรับงานที่ต้องทำซ้ำ ๆ มีปริมาณมาก ๆ ต้องการความแม่นยำและรวดเร็ว

ขณะที่รัฐบาลไทยกำลังเดินหน้าผลักดันนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ให้เกิดขึ้นในทุกภาคส่วนหลายบริษัทในหลากอุตสาหกรรมเองก็กำลังเร่งปรับตัวขนานใหญ่เพื่อรับมือกับความท้าทายทางด้านเทคโนโลยีที่ถาโถมมาอย่างไม่หยุดยั้ง บางแห่งเริ่มนำระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติและเทคโนโลยีต่าง ๆ มาช่วย transform ธุรกิจให้อยู่รอด ลดต้นทุนในกระบวนการต่าง ๆ ภายในองค์กร ตลอดจนนำมาเสริมการให้บริการ อาทิ Big data, Internet of Things (IoT), Cloud, Artificial intelligence (AI), Blockchain ฯลฯ

โดยเฉพาะธุรกิจการขนส่งและโลจิสติกส์นั้นมีภาพรวมการเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอันเป็นผลมาจากการขยายตัวของตลาด e-Commerce ที่มีผู้เล่นรายใหม่ ตบเท้าเข้ามายังตลาด ETDA เคยคาดการณ์มูลค่า e-Commerce ของกลุ่มอุตสาหกรรมการขนส่งอยู่ที่ 1.2 แสนล้านบาท โดยอยู่ในลำดับที่ 5 จาก 8 กลุ่มอุตสาหกรรมทั้งหมดสำหรับปี 2561 แสดงให้เห็นถึงโอกาสการเติบโต และศักยภาพในการขยายตัวของตลาดที่ยังเปิดกว้างแก่ผู้ประกอบการทางด้านนี้หากมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้เปลี่ยนผ่านไปสู่ E-Logistic

RPA_E-Logistics

ข้อมูลจาก PWC เผยว่า Software เป็นหนึ่งเทรนด์ที่สำคัญของการทำธุรกิจด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ (Transport & Logistics) เพราะช่วยเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานภายใน ช่วยลดต้นทุน และสร้างผลลัพธ์ที่ดีให้กับธุรกิจในระยะยาว โดยใช้พื้นฐานมาจากเทคโนโลยีกลุ่ม AI, IoT, Big Data และ Blockchain ซึ่งประกอบด้วย 5 โซลูชั่นสำคัญที่ช่วยก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่

  • โซลูชั่นระบบขนส่งอัจฉริยะ (Intelligent Transport System)
  • โซลูชั่นการคาดการณ์เพื่องานซ่อมบำรุงและตรวจสอบสภาพแวดล้อมด้วยโดรน (Predictive Maintenance and Drone Supervision)
  • โซลูชั่นระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติ (Robotic Process Automation หรือ RPA)
  • โซลูชั่นบล็อกเชนและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง (Blockchain DLT Solutions)
  • โซลูชั่นปัญญาประดิษฐ์ (AI Solutions)

ซึ่งเทคโนโลยีขั้นแรกที่หลายองค์กรนำมาใช้เป็นกลยุทธ์แรก ๆ เพื่อเปลี่ยนผ่านการทำงานภายในสู่การเป็นผู้ให้บริการ E-Logistic สมัยใหม่ ก็คือ RPA (Robotic Processing Automation) เพราะเป็นการเปลี่ยน ต้นทุน ผสานรวมระบบการทำงาน และพัฒนา workforce ไปสู่การสร้างสิ่งใหม่ ๆ ให้กับองค์กรในระยะยาวได้ บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะผู้ให้บริการโซลูชั่น RPA มีแนวทางการปรับใช้ RPA ให้แก่องค์กรด้านโลจิสติกส์มานำเสนอ ดังนี้

แนวทางการปรับใช้ RPA เพื่อดำเนินธุรกิจการขนส่งที่น่าสนใจ

กระบวนการเรียกเก็บเงิน หนึ่งในความท้าทายสำคัญของการดำเนินธุรกิจคือการได้รับเงินโดยเร็วที่สุดหลังจากงานสำเร็จลุล่วงแล้ว โดยปกติขั้นตอนในการเรียกเก็บเงินมีความซับซ้อนและใช้หลายระบบในการทำงาน ซึ่งทำให้เกิดความล่าช้า ซอฟต์แวร์หุ่นยนต์ RPA จะช่วยเชื่อมต่อระบบการทำงานทั้งหมดเข้าด้วยกันโดยอัตโนมัติ และส่งเอกสารใบแจ้งหนี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียกเก็บเงินให้รวดเร็วยิ่งขึ้น

ใช้ปรับกระบวนการสั่งซื้อสินค้า และการชำระเงินให้เป็นแบบอัตโนมัติ หลายบริษัทอาจยังใช้กระบวนการเดิม ๆ ในขั้นตอนการสั่งซื้อสินค้า เช่น ป้อนข้อมูลของลูกค้าแบบ manual ด้วยประสิทธิภาพของซอฟต์แวร์หุ่นยนต์ RPA จะช่วยเชื่อมโยงฐานข้อมูลของลูกค้า ประมวลผลการเบิกจ่ายเงิน ส่งอีเมลยืนยัน และยื่นคำสั่งซื้อแบบอัตโนมัติ

เชื่อมต่อซอฟต์แวร์หุ่นยนต์ RPA เข้ากับพอร์ทัลลูกค้า เพิ่มความเร็วการออกใบแจ้งหนี้ ไม่จำเป็นต้องกรอกข้อมูลซ้ำ ๆ บนระบบ หรือแนบข้อมูลเข้าไปกับใบแจ้งหนี้ด้วยตนเองอีกต่อไป สามารถใช้ซอฟต์แวร์หุ่นยนต์ RPA ช่วยดึงข้อมูลพร้อมทั้งแนบไฟล์ POD ที่สแกนเรียบร้อยแล้วไปพร้อมกับใบแจ้งหนี้ได้โดยอัตโนมัติ และสามารถอัพเดตข้อมูลดังกล่าวบนพอร์ทัลลูกค้าภายในไม่กี่วินาทีแทนที่แบบเดิมที่จะต้องเสียเวลาเป็นวัน ๆ

เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารของลูกค้าด้วยคำสั่งซื้อแบบอัตโนมัติ และ ช่วยติดตามสินค้าในคลัง ใช้ซอฟต์แวร์หุ่นยนต์ RPA เพื่อช่วยตรวจสอบข้อมูลการจัดส่งสินค้า/เว็ปไซต์ เพื่อตรวจสอบว่าข้อมูลนั้นถูกต้อง และตรงกัน โดยเชื่อมโยงกับข้อมูลคำสั่งซื้อในระบบการจัดการคลังสินค้า ช่วยให้สามารถติดตามและตอบสนองกับลูกค้าได้รวดเร็วและสะดวกยิ่งขึ้น

RPA System
ตัวอย่าง ภาพระบบ RPA ที่เหมาะแก่ธุรกิจการขนส่งและโลจิสติกส์

ข้อมูลจาก Gartner ชี้ว่า Robotic Process Automation (RPA) เป็นซอฟต์แวร์ที่เติบโตมากที่สุดถึง 63% เมื่อปี 2561 และคาดการณ์ปีนี้จะมีมูลค่าราว 1.3 พันล้านดอลลาร์ (ราว 4 หมื่นล้านบาท) เมื่อเทียบกับซอฟต์แวร์ระดับองค์กร RPA คือ หุ่นยนต์ที่อยู่ในรูปแบบของซอฟต์แวร์เหมาะสำหรับงานที่ต้องทำซ้ำ ๆ มีปริมาณมาก ๆ ต้องการความแม่นยำและรวดเร็ว เช่น งานทางด้านป้อนข้อมูลเข้าระบบ งานบัญชี เป็นต้น เพราะ RPA มีความสามารถในการจัดการข้อมูลจำนวนมากจึงเป็นทางเลือกแรกที่ตอบโจทย์ธุรกิจประเภทนี้เนื่องจากจะเข้าไปช่วยจัดทำและเปลี่ยนแปลงข้อมูลขั้นพื้นฐาน อาทิ เอกสารพวกใบวางบิล ใบกำกับสินค้า รวมไปถึงกระบวนการรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า และการตรวจสอบการบันทึก พวกใบสั่งซื้อสินค้า หรือเอกสารทางด้านกฎหมาย เป็นต้น

ปัจจุบันมีธุรกิจคนไทยที่นำ RPA มาใช้อย่างเต็มรูปแบบในเชิงปฏิบัติการแล้ว คือ บริษัท ซีทีไอ โลจิสติกส์ ที่นำระบบนี้มาใช้เปลี่ยนโฉมการทำงานของคน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานควบคู่ไปกับการลดต้นทุนด้านการดำเนินงานทางด้านเอกสารภายใน ช่วยให้กระบวนการดำเนินงานภายในองค์กรราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ RPA ยังช่วยให้พนักงานมีเวลาเพิ่มขึ้น สามารถไปทำงานในเชิงคิดวิเคราะห์หรืองานที่เพิ่มคุณค่าให้กับองค์กรได้ ซึ่งองค์กรจะได้รับประโยชน์ทั้งในด้านคุณภาพของงานจากบุคลากรที่มีทักษะ และปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นจาก RPA ช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีศักยภาพได้อีกด้วย

RPA_Logistics

นอกจากการลงทุนนำโซลูชั่น RPA มาใช้เพื่อ transform ธุรกิจแล้ว ผู้บริหารควรมีการวิเคราะห์ ออกแบบและวางแผนล่วงหน้า หรือปรึกษาบริษัทผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยให้การนำซอฟต์แวร์ดังกล่าวมาปรับใช้กับเนื้องานของธุรกิจได้อย่างเหมาะสม เพิ่มประสิทธิภาพงานที่มีอยู่ในขณะเดียวกันก็แบ่งเบาภาระงานที่เคยต้องใช้แรงงานมนุษย์ในการปฏิบัติการเป็นหลัก สอดคล้องกับข้อสรุปของเหล่า CEOs ในแวดวงโลจิสติกส์ที่ตอกย้ำถึงทิศทางของการดำเนินธุรกิจวันนี้ว่า ควรให้ความสำคัญต่อการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ (Operational Efficiencies) เป็นลำดับแรกสูงถึง 71%

ดังนั้นบริษัทที่ควรนำระบบอัตโนมัติ RPA เข้ามาประยุกต์ใช้กลุ่มแรก ๆ คือ บริษัทที่กำลังเผชิญหน้ากับปัญหาของระบบงานหลังบ้าน มีต้นทุนจากการจ้างแรงงานจากภายนอก และต้องการเปลี่ยนต้นทุนให้ย้อนกลับมาเป็นกำไรนั่นเอง

 

บทความโดย: บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด