Categories
News

INDUSTRY TREND: WHAT IS A SMART CITY? เล่าเรื่องเมืองอัจฉริยะ

กล่าวให้สั้น เมืองอัจฉริยะ หรือ smart city ก็คือเมืองที่ถูกบริหารจัดการด้วยเทคโนโลยีอันชาญฉลาด ช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบดูแลพื้นที่ได้แบบ real-time ส่งผลให้เกิดการใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่าและลดค่าใช้จ่ายด้วยความช่วยเหลือของเทคโนโลยี เป็นข้อได้เปรียบสองประการสำคัญของความเป็นเมืองอัจฉริยะ

smart city 1
Big Data, machine learning and Internet of Things are incorporated in numerous segments of smart cities which make them more friendly and liveable towards people living in it. ( Source: Deposit Photos )

กล่าวให้ง่าย เมืองสมาร์ทคือทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการทำให้สิ่งต่าง ๆ เป็นไปอย่างชาญฉลาดด้วยความช่วยเหลือของเทคโนโลยีอัจฉริยะ ทั้งหมดของแนวคิดยอดนิยม เช่น Big Data, machine learning และ Internet of Things (IOT) ถูกบรรจุไว้ในหลายๆ ส่วนของเมือง สร้างความเป็นมิตร น่าอยู่และสะดวกสบายมากขึ้นกับผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมือง

ข้อมูลจากเว็บไซต์การศึกษาด้าน IT, Technopedia เมืองอัจฉริยะคือการมอบตำแหน่งเมืองที่รวมเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เพื่อยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพของการบริการภายในเมือง หรือ urban services เช่น ด้านพลังงาน การขนส่งและสาธารณูปโภค เพื่อลดการใช้ทรัพยากร ความสิ้นเปลืองและค่าใช้จ่ายทั้งหมด โดยเป้าหมายสำคัญของ Smart City คือการยกระดับคุณภาพชีวิตของพลเมืองด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ

Dubai’s smart city infrastructure

มีหลายประเทศที่กำลังสำรวจ-ศึกษาแนวความคิดนี้ และได้พิสูจน์แล้วว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ตัวอย่างเช่น ดูไบได้ลงทุนกว่า 8 พันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเมืองอัจฉริยะ ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นไปตามความคิดริเริ่ม ‘‘Smart Dubai’ ที่ประกาศในปี 2013 โดย H. H. Sheikh Mohammed bin Rashid Al Maktoum รองประธานและนายกรัฐมนตรีแห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และผู้ปกครองนครดูไบ เป็นไปเพื่อเปลี่ยนดูไบไปสู่ ‘smart city’

ดูไบมีเป้าหมายที่จะเป็นเมืองอัจฉริยะแห่งแรกของโลก จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ดูไบจะเปิดตัวบริการอัจฉริยะที่น่าทึ่งมากมาย รวมถึงแอพอัจฉริยะของรัฐบาลดูไบที่เปิดตัวในชื่อ ‘Dubai Now’ ด้วยความช่วยเหลือของแอพนี้ชาวนครดูไบสามารถชำระค่าไฟฟ้า จองรถแท็กซี่ ติดตามพัสดุ ค้นหาตู้เอทีเอ็มใกล้เคียง รายงานการละเมิดกฎหมายต่อตำรวจดูไบ แม้แต่การติดตามสถานะวีซ่า ทั้งหมดนี้ในแอพเดียวต่อจากนั้น ดูไบได้เปิดตัวสถานีตำรวจอัตโนมัติอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งผู้คนสามารถเข้ามาขอความช่วยเหลือจากตำรวจได้ปกติ เปิดให้บริการประชาชนแบบ 24/7: 24 ชั่วโมง 7 วัน โดยไม่ต้องใช้เจ้าหน้าที่ประจำสถานี โดยที่ประชาชนสามารถรายงานเหตุอาชญากรรม เหตุการณ์การจราจร สิ่งของสูญหายและอื่น ๆ ได้เหมือนไปแจ้งความตามปกติ เมื่อเข้าไปในสถานี ผู้มาติดต่อจะถูกนำไปยังห้องส่วนตัวที่สามารถสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ผ่านทางหน้าจอโทรทัศน์ขนาดใหญ่

Smart City 2

Barcelona’s smart systems

เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน วางแผนที่จะประหยัดเงินหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐในแต่ละปีในภาคพลังงานด้วยการติดตั้งระบบอัจฉริยะต่าง ๆ เช่น ไฟถนนอัจฉริยะ (smart street lighting) ไฟถนนจะทำงานร่วมกับระบบเซ็นเซอร์ในการทำงานยามค่ำคืน คอยตรวจจับความเคลื่อนไหวภายในเมือง ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่าย (ในการจ้างเวรยามหรือจ่ายค่าล่วงเวลา) และใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ชาวเมืองจะสามารถตรวจหาจุดจอดรถได้อย่างสะดวกสบายโดยการรับข้อมูลแบบ real-time ผ่านแอพ เทคโนโลยีนี้เป็นไปได้ด้วยระบบเซ็นเซอร์ที่จอดรถ หรือ parking sensors ที่ใช้ประโยชน์จากแสงไฟและเครื่องตรวจจับโลหะเพื่อตรวจจับว่ามีที่ว่างหรือไม่

ส่วนระบบอัจฉริยะที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือ ระบบเซ็นเซอร์ขยะ หรือ garbage sensor

ในกรณีนี้ถังขยะจะเป็นเหมือนที่ดูดฝุ่นที่ดูดขยะทางผ่านท่อใต้ดิน กระบวนการอัตโนมัติที่เป็นนวัตกรรมนี้ช่วยลดค่าใช้จ่ายและยังช่วยลดมลพิษทางเสียงของรถขนขยะ นี่เป็นเพียงคุณสมบัติอันชาญฉลาดบางส่วนที่เมืองต่าง ๆ นำมาใช้เพื่อเปลี่ยนนครธรรมดาให้เป็นเมืองอัจฉริยะที่สมบูรณ์แบบในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

ทั่วโลกมีหลายประเทศที่ใช้บริการอัจฉริยะและสิ่งอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ หลากหลายภาระกิจที่ใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะ ทั้งหมดมีมีวัตถุประสงค์เพื่อให้โครงสร้างพื้นฐานหลักมีสภาพแวดล้อมที่สะอาดและยั่งยืนสำหรับประชาชนและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรอย่างเต็มที่

แทบไม่ต้องสงสัยเลยว่าเมืองอัจฉริยะคืออนาคต!

barcelona Smart City

Categories
Article

เมื่อระบบอัตโนมัติครองโลก: IT’S ALL ABOUT AUTOMATION

Be it incorporating smart solutions or making use of IIoT, the modern shop floor in the automobile industry is dominated by automation.

อีกไม่นานด้วยเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติที่ไปไกลสุดหยั่ง เราจะมียานยนต์ขั้นสูงที่ติดต่อสื่อสารกันเองได้ จดจำพฤติกรรมและรูปแบบการขับขี่ของเราได้แบบทุกสถานการณ์ทางอารมณ์! ทั้งหมดนี้มาจากผลการเติบโตของระบบอัตโนมัติในตลาดโลก

ตลาดระบบอัตโนมัติด้านอุตสาหกรรมทั่วโลกคาดว่าจะทะลุถึง 321.93 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2024 คาดว่าการใช้งานระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นหนึ่งในแรงหนุนสำคัญของตลาดที่กำลังเติบโตนี้

Industry 4.0 ได้มอบแรงขับใหม่ๆ ให้กับอุตสาหกรรมการผลิตและได้แปลงเปลี่ยนภาคนี้ไปชนิดที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อันที่จริงหนึ่งในกลุ่มแกนหลักในแนวคิดใหม่นี้ก็คือ ‘ระบบอัตโนมัติ’ นั่นเอง จากรายงานโดย Zion Market Research ตลาดของระบบอัตโนมัติด้านอุตสาหกรรมจะถึง 321.93 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2024 รายงานยังระบุโดยคาดว่า ตลาดจะสร้างรายได้ประมาณ 321.93 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2024 เติบโตที่ CAGR ประมาณ 6.5% ระหว่างปี 2018 ถึงปี 2024 ไม่น่าแปลกใจที่ทุกวันนี้ทุกอุตสาหกรรมหลักของโลกจะใช้ระบบอัตโนมัติในกระบวนการของพวกเขา จากผลิตภาพที่สูงขึ้น รวมทั้งคุณภาพ ความยืดหยุ่น ความเที่ยงตรงแม่นยำของข้อมูล ต้นทุนที่ต่ำลงและความปลอดภัยที่สูงขึ้น ทั้งหมดนี้รวมกันเป็นข้อดีหรือข้อได้เปรียบหลากหลายประการของแนวคิดนี้

Automation in the automobile industry

ไม่ว่าจะเป็น Smart solutions ต่างๆ หรือการใช้ IIoT (Industrial Internet of Things) พื้นที่ปฏิบัติการที่ทันสมัย หรือ modern shop floor ในอุตสาหกรรมยานยนต์ล้วนแล้วแต่ถูกระบบอัตโนมัติเข้าไปจัดการครอบครองพื้นที่การผลิตแทบทั้งสิ้น ผู้ผลิตรถยนต์เช่น Tesla, Volkswagen, BMW, Toyota และผู้เล่นชั้นนำอื่นๆ ในอุตสาหกรรมนี้ต่างก็ใช้เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ หรือ Automation Technology ที่หลากหลายมากมายเพื่อนำมาตอบสนองความต้องการและเพิ่มศักยภาพในการผลิต และ automation solutions หลักๆ ที่มีความสำคัญ โดยมักถูกใช้ในพื้นที่ของอุตสาหกรรมยานยนต์ ได้แก่ collaborative robots  หรือ cobots และ cognitive computing หรือการประมวลผลเสมือนมนุษย์ในยานยนต์ที่เชื่อมต่อ IoT

Automation, Industry 4.0

Collaborative robots

Cobots เป็นหุ่นยนต์ที่ใช้งานง่าย น้ำหนักเบา และเคลื่อนย้าย-พกพาได้ง่าย หุ่นยนต์เหล่านี้ทำงานบนหลักการของ machine learning หรือการเรียนรู้ของเครื่องจักร และสามารถทำงานได้อย่างอิสระโดยไม่มีการแทรกแซงจากมนุษย์ Collaborative robots ช่วยในสายการผลิตผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงด้วยความแม่นยำสูงสุด โดยมี Universal Robots, Kuka, Rethink Robotics เป็นหนึ่งในกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ที่พัฒนา cobots สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตทั่วโลก

Cognitive computing in IoT connected cars

การประมวลผลเสมือนมนุษย์ หรือ Cognitive computing เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ  AI เป็นหลัก โดยใช้ประโยชน์จาก machine learning มีปฏิสัมพันธ์หรือการโต้ตอบระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ ด้วยการประมวลผลภาษามนุษย์ และแนวคิดที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ อีกมากมาย

BMW ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติเยอรมัน กำลังสำรวจแนวความคิดในการสร้างยานพาหนะอัตโนมัติ (autonomous vehicles) ด้วยการใช้ cognitive computing และ IoT มีการคาดว่า รถยนต์เหล่านี้จะสื่อสารกันเองได้ ทั้งยังสามารถจดจำรูปแบบการขับขี่ของผู้ขับขี่มนุษย์ในสถานการณ์ทางอารมณ์ได้! หากทดสอบสำเร็จยานยนต์อิสระเหล่านี้ก็จะกลายเป็นยานยนต์ไร้คนขับขั้นสูง

Motek 2019

ในสถานการณ์นี้ สิ่งสำคัญที่จะทำให้ตัวเองอัพเดทเกี่ยวกับเทคโนโลยีและโซลูชันล่าสุดที่มีอยู่ในพื้นที่ของระบบอัตโนมัติเสมอ บรรดาผู้เล่นในอุตสาหกรรมไม่ควรพลาดนิทรรศการเกี่ยวกับระบบอัตโนมัติระดับนานาชาติ อย่างงาน Motek ที่เมือง Stuttgart ประเทศเยอรมนีในเดือนตุลาคมระหว่างวันที่ 7- 10 เป็นงานแสดงสินค้า 4 วันที่คุณจะได้เห็นนวัตกรรมมากมายถูกนำมาจัดแสดงโดยชื่อชั้นระดับผู้นำจากโลกอุตสาหกรรม

ขอบคุณที่มาจาก  : www.toolmakers.co

อ้างอิง: https://www.etmm-online.com/its-all-about-automation-a-864259/

Categories
News

ก.อุตฯ เซ็น MOU เกาหลี พัฒนาอุตสาหกรรม 4.0

ก.อุตสาหกรรม ร่วมกับกระทรวงการค้า อุตสาหกรรมและพลังงานของประเทศเกาหลี ลงนามบันทึกความเข้าใจระดับหน่วยงาน จัดตั้งความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม สนับสนุนการลงทุนและความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0

อุตสาหกรรม 4.0 , กระทรวงอุตสาหกรรม , MOU

รายงานข่าวจากระทรวงอุตสาหกรรมแจ้งว่า เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2562 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และนายมุน แช-อิน ประธานาธิบดีสาธารณรัฐเกาหลี ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ ด้านความร่วมมืออุตสาหกรรม เพื่อตอบสนองต่ออุตสาหกรรม 4.0 ระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรม โดยนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และ นางยู เมียง-ฮี รัฐมนตรีว่าการด้านการค้า กระทรวงการค้า อุตสาหกรรมและพลังงาน สาธารณรัฐเกาหลี ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้ร่วมมือกับกระทรวงการค้า อุตสาหกรรมและพลังงานของประเทศเกาหลี ลงนามบันทึกความเข้าใจระดับหน่วยงาน (MOU) เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ต่อยอดเพิ่มเติมจากความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมที่มีอยู่เดิม ได้แก่ ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี และ ความร่วมมือประเทศลุ่มน้ำโขง-สาธารณรัฐเกาหลี ในอันที่จะเชื่อมโยงนโยบาย Thailand 4.0 ของไทย กับนโยบายนโยบายมุ่งใต้ใหม่ (New Southern Policy – NSP) ของเกาหลีที่มีเป้าหมายในการเพิ่มพูนความสัมพันธ์กับอาเซียนเป็นรายประเทศ เพื่อยกระดับความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม ส่งเสริมการลงทุน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทยที่สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมของเกาหลี อาทิ หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติ เศรษฐกิจชีวภาพ (เคมีชีวภาพ ชีวเภสัชภัณฑ์) อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและเครื่องใช้ไฟฟ้า และ ยานยนต์สมัยใหม่ เป็นต้น

นายสุริยะ กล่าวต่อว่า ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมา อาเซียนและเกาหลีมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่าง ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมาโดยตลอดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้อาเซียนกลายเป็นคู่ค้าอันดับ 2 ของเกาหลีรองจากจีน มีประเทศไทยเป็นคู่ค้าลำดับที่ 5 ของสมาชิกอาเซียนกับเกาหลี และเป็นประเทศที่นักลงทุนเกาหลีเข้ามาลงทุนโดยตรงเป็นอันดับที่ 8 ของอาเซียน จึงมีโอกาสอีกมากที่ประเทศไทยและเกาหลีจะพัฒนาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและด้านอื่น ๆ ระหว่างกัน โดยภายใต้บันทึกความเข้าใจในครั้งนี้ จะมีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างทั้งสองฝ่าย หรือ Korea-Thailand Joint Working Group on Industry 4.0 Cooperation เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนให้การดำเนินงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีประธานร่วมของฝ่ายไทย คือ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และฝ่ายเกาหลี คือ อธิบดีสำนักความร่วมมือการค้า ทั้งนี้ ความร่วมมือดังกล่าวนับเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนากลไกความร่วมมือระหว่างภาครัฐของทั้งสองฝ่าย ในโอกาสครบรอบ 60 ปี ความสัมพันธ์ไทย-สาธารณรัฐเกาหลีอีกด้วย

นายณัฐพล รังสิตพล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า อุตสาหกรรมเป้าหมายของไทยที่สอดคล้องกับสาขาที่เกาหลีมีศักยภาพในการเข้ามาลงทุน ประกอบด้วย เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและอิเล็กทรอนิกส์ หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เทคโนโลยีชีวภาพ ยานยนต์ไฟฟ้าและการผลิตแบตเตอรี่ โดยจะได้ผลักดันความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับหน่วยงานฝ่ายเกาหลี เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็วตามที่ผู้นำของทั้งสองประเทศได้มอบหมายไว้

Categories
News

BMW Group ประเทศไทยเดินหน้าประกอบแบตเตอรี่แรงดันสูงในประเทศไทยสำหรับ EV

ทั้งนี้ บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI สำหรับการลงทุนประกอบรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดมูลค่า 700 ล้านบาท ซึ่งบริษัทฯ ได้จัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งมาร่วมลงทุนกับแดร็คเซิลไมเออร์ กรุ๊ป ประเทศไทย เพื่อพัฒนาโรงงานประกอบแบตเตอรี่แรงดันสูง ซึ่งปัจจุบันเป็นโรงงานประกอบแบตเตอรี่แรงดันสูงแห่งเดียวในภูมิภาคอาเซียน ตั้งอยู่ ณ นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ชลบุรี 2

แบตเตอรี่แรงดันสูงเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่สำคัญของรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นยานยนต์ประเภทไฮบริดหรือรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าโดยสมบูรณ์ ทั้งยังเป็นชิ้นส่วนที่มีความซับซ้อนและต้องใช้ทักษะเฉพาะด้านในการผลิต นับตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2561 บุคลากรจากแดร็คเซิลไมเออร์ กรุ๊ป ได้เข้าร่วมโปรแกรมอบรมและพัฒนาบุคลากรเพื่อการประกอบแบตเตอรี่แรงดันสูง ณ โรงงานบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ปในเมืองดิงกอลฟิง และโรงงานนำร่องการผลิตระบบการขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ซึ่งมีความพร้อมแล้วสำหรับการประกอบแบตเตอรี่ที่ต้องใช้ทักษะความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการผลิตที่ล้ำสมัย เพื่อการประกอบแบตเตอรี่อันเป็นเทคโนโลยีล่าสุด (เจนเนอเรชั่นที่ 4) เช่น การเชื่อมด้วยเลเซอร์ การเตรียมพื้นผิววัสดุด้วยพลาสมา วิทยาการหุ่นยนต์ กระบวนการยึดติด การตรวจสอบคุณภาพชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อัตโนมัติ (AOI) การตรวจสอบการทำงานของระบบไฟฟ้า และการตรวจสอบคุณภาพเมื่อสิ้นสุดสายการผลิต นอกจากนี้ โปรแกรมการอบรมดังกล่าวยังครอบคลุมทักษะในการทำงานกับกระบวนการผลิตอัตโนมัติ ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญในการประกอบโมดูลแบตเตอรี่ รวมถึงการตรวจสอบคุณภาพโดยรวม การออกแบบกระบวนการและเทคโนโลยีการผลิต การปรับปรุงแก้ไขคุณภาพ และการวิเคราะห์กระบวนการผลิต

เมื่อเสร็จสิ้นการเรียนรู้และเสริมสร้างความเชี่ยวชาญด้านการประกอบแบตเตอรี่แล้ว บุคลากรที่ผ่านการอบรมข้างต้นจะได้ทำงานกับชิ้นส่วนอย่างเซลล์แบตเตอรี่ที่นำเข้าจากผู้ผลิตในภูมิภาคเอเชีย พร้อมด้วยชิ้นส่วนแบตเตอรี่นำเข้าอีกมากมาย ทั้ง โครงอะลูมิเนียม ระบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์และสายไฟ เพื่อประกอบแบตเตอรี่แรงดันสูงที่ได้มาตรฐานระดับโลกของบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป และเป็นไปตามข้อกำหนดด้านการใช้ชิ้นส่วนจากผู้ผลิตในประเทศของประเทศไทย เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการประกอบแล้ว แบตเตอรี่แรงดันสูงดังกล่าวจะถูกส่งไปยังโรงงานบีเอ็มดับเบิลยูที่ระยอง เพื่อนำไปติดตั้งในรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดในตระกูลบีเอ็มดับเบิลยู ซีรี่ส์ 5 ซึ่งได้เริ่มต้นเฟสแรกไปแล้วตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

จุดเด่นของสายการผลิตในโรงงานแห่งนี้นั้นให้ความสำคัญกับทักษะของแรงงานผู้ทำการผลิต โดยระบบอัตโนมัติจะทำหน้าที่ในส่วนที่ความละเอียดของมนุษย์ไม่สามารถจัดการได้ เช่น การเชื่อมหรือการตรวจสอบรอยเชื่อม ซึ่งทำให้เห็นว่าโอกาสและพื้นที่ของแรงงานในยุคการผลิตสมัยใหม่นั้นยังมีความสำคัญอยู่ และระบบอัตโนมัตินั้นไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นในทุกกรณี การพัฒนาศักยภาพแรงงานที่เหมาะสมต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์เป้าหมายต่างหากที่ทำให้สามารถผลิตชิ้นส่วนหรือผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานสูงได้ นอกจากนี้โรงงานยังมีพื้นที่การผลิตขนาดกะทัดรัดเหมาะสมต่อการควบคุมพื้นที่ปิดซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการผลิตแบตเตอรี่ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 เป็นต้นมา โรงงานบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป แมนูแฟคเจอริ่ง ประเทศไทย ณ นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง ได้ประกอบรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดมาแล้ว 4 รุ่นด้วยกันคือ บีเอ็มดับเบิลยู 330e บีเอ็มดับเบิลยู 530บีเอ็มดับเบิลยู XxDrive40และบีเอ็มดับเบิลยู 740Le