Categories
Automation

การนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์มาใช้เพื่อกระตุ้นความก้าวหน้าในอุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติ

แม้รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเองและยานยนต์พลังไฟฟ้าเทสลาของอีลอน มัสก์ จะกลายเป็นพาดหัวข่าวไปทั่ว แต่การใช้งานระบบอัตโนมัติในโรงงานอุตาหกรรมที่เพิ่มขึ้นกลับมีคนพูดถึงน้อยมาก บางครั้งอาจเป็นเพราะเทคโนโลยีหุ่นยนต์ได้สั่นสะเทือนวงการอุตสาหกรรมมาแล้วตั้งแต่ ปี ค.ศ.1961 เมื่อเจเนรัลมอเตอร์เป็นผู้นำเทคโนโลยีนี้มาใช้เป็นครั้งแรก

ประเทศไทยซึ่งได้ชื่อว่าเป็นดีทรอยต์แห่งเอเชีย (Detroit of Asia) ถือเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ในอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ ในฐานะผู้ผลิตยานยนต์รายใหญ่อันดับที่ 12 ของโลกและเป็นรายใหญ่ที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การรักษาสถานะผู้ผลิตที่แข็งแกร่งของประเทศถือเป็นสิ่งที่กำลังทวีความท้าทายยิ่งขึ้นในภาวะที่ต้นทุนการผลิตพุ่งสูง การแข่งขันตึงเครียด และเทคโนโลยีที่กำลังก้าวล้ำไปไกล อุตสาหกรรมที่มีการจ้างพนักงานกว่า 850,000 คนนี้ จึงต้องได้รับการสนับสนุน ซึ่งหากปราศจากการแปรรูปอุตสาหกรรมไปสู่ระบบอัตโนมัติ ก็ย่อมไม่มีทางเป็นไปได้อย่างแน่นอน

การสร้างอุตสาหกรรมยานยนต์รุ่นใหม่

อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ถือเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยคิดเป็นอัตราส่วน 10% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ตลอดระยะเวลามากกว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาได้มีการนำเสนอสิ่งจูงใจมากมายเพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ ทำให้ในปัจจุบัน ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์รวมผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำของโลก อาทิ ฟอร์ด เมอร์เซเดสเบนซ์ นิสสัน และอีกมากมาย

สำหรับการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่อุตสาหกรรม รัฐบาลไทยได้กำหนดให้อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์รุ่นใหม่เป็นหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพกลุ่มแรก (First S-curve) ในนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เพื่อเน้นย้ำความสำคัญของยานยนต์พลังงานไฟฟ้าและการผลิตชิ้นส่วนหลักภายในประเทศ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีอุตสาหกรรมการผลิตขั้นสูง อาทิ เทคโนโลยีหุ่นยนต์ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพของภาคอุตสาหกรรม

เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์

การผลักดันเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงของรัฐบาล ช่วยขับเคลื่อนการอุบัติของโรงงานระบบอัจฉริยะหลายแห่งซึ่งใช้ระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีหุ่นยนต์ โดยอุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติถือเป็นหนึ่งในผู้บริโภครายใหญ่ของภาคธุรกิจหุ่นยนต์ โดยประเมินว่ามีหุ่นยนต์ 1,046 ตัวต่อคนงาน 10,000 คนในปี ค.ศ.2018

แต่เดิม หุ่นยนต์จำนวนมากที่ใช้ในโรงงานระบบอัตโนมัติมักมีขนาดใหญ่เทอะทะ จำเป็นต้องใช้เงินทุนสูงทั้งในด้านอุปกรณ์และการฝึกอบรมพนักงาน รวมถึงการวางผังส่วนการผลิตใหม่ในการแยกหุ่นยนต์ออกจากโซนพนักงาน เพื่อเหตุผลด้านความปลอดภัย

นวัตกรรมสมัยใหม่ก่อให้เกิดการพัฒนาหุ่นยนต์ให้สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ในโรงงานอุตสาหกรรมได้อย่างง่ายดายและใช้เงินลงทุนน้อยกว่าหุ่นยนต์ขนาดใหญ่เทอะทะสมัยก่อน

หุ่นยนต์เพื่อการทำงานร่วมกับมนุษย์ (โคบอต) สามารถแสดงให้โรงงานการผลิตเห็นถึงอนาคตซึ่งหุ่นยนต์สามารถทำงานเคียงข้างพนักงานที่มีทักษะเพื่อร่วมกันสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงได้อย่างสมบูรณ์แบบ ด้วยฟีเจอร์การทำงานด้านความปลอดภัยที่ติดตั้งมาพร้อมสรรพ ทำให้โคบอตสามารถนำไปใช้งานในสภาพแวดล้อมที่อันตรายที่ต้องการความแม่นยำและคุณภาพชิ้นงานสูง ทำให้พนักงานสามารถใช้เวลากับงานที่มีมูลค่าสูงกว่าได้ และยังช่วยเพิ่มสวัสดิภาพในสถานที่ปฏิบัติงานในเวลาเดียวกัน

Robot Technology

บริษัท พีที เจวีซี อิเล็กทรอนิกส์ อินโดนีเซีย (PT JVC Electronics Indonesia) ผู้ผลิตอุปกรณ์ภาพและเสียงและอุปกรณ์นำทาง ใช้โคบอตเพื่อผ่อนแรงพนักงานจากงานที่มีความเสี่ยงสูง อาทิ งานบัดกรีและงานตัดแยกชิ้นส่วนแผงวงจร ซึ่งปล่อยไอพิษและละอองอนุภาค ความแม่นยำและประสิทธิภาพของโคบอตยังช่วยเพิ่มกำลังการผลิตและคุณภาพของชิ้นงานโดยรวม พร้อมลดค่าใช้จ่ายได้ปีละกว่า 80,000 ดอลลาร์

คุณลักษณะที่ใช้งานง่าย ขนาดกะทัดรัด และมีความยืดหยุ่นในการทำงานสูง ทำให้โคบอตสามารถผสานเข้ากับกระบวนการผลิตรถยนต์ได้อย่างสะดวกรวดเร็วโดยไม่ต้องปรับปรุงโรงงานในภาพรวมแต่อย่างใด โคบอตยังสามารถช่วยงานได้หลายขั้นตอน นับตั้งแต่การเชื่อมและการลงสี ไปจนถึงการขัดผิวและการหยิบจับชิ้นงาน

โรงงานผลิตของบริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่อย่าง นิสสัน มอเตอร์ (Nissan Motor) ในโยโกฮาม่า ได้ใช้โคบอตของยูนิเวอร์ซัล โรบอตส์ เพื่อลดอัตราการใช้เวลาเกินรอบการผลิตและสอนแรงงานสูงอายุของบริษัทให้มีทักษะใหม่ที่มีความสำคัญ

บริษัทรถยนต์ในประเทศไทยก็กำลังดำเนินรอยตามแนวทางนี้ โดย มิตซูบิชิ อิเล็กทริค คอร์ปอเรชัน ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น ได้ส่งสัญญาณว่าบริษัทจะลงทุนอย่างมหาศาลกับโรงงานระบบอัตโนมัติในประเทศไทย นอกจากนี้ เราจะได้เห็นทั้งเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ การเรียนรู้ของเครื่องยนต์ และบล็อกเชนในภาคธุรกิจระบบอัตโนมัติ รวมถึงอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพสูงอื่น ๆ

การทำงานเพื่อมุ่งสู่อุตสาหกรรม 4.0

การนำเทคโนโลยีขั้นสูงและหุ่นยนต์โดยเฉพาะโคบอตมาใช้งานในประเทศไทย ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวดในการสร้างหลักประกันว่า อุตสาหกรรมของประเทศจะสามารถรับมือกับกระแสของโลกและขับเคลื่อนประเทศไปสู่ฐานะผู้ผลิตรายใหญ่อันดับ 8 ของโลกได้ภายใน ค.ศ.2020 ดังการคาดการณ์ของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนประเทศไทย

บทความโดย:ดาร์เรลล์ อดัมส์ หัวหน้าส่วนงานยูนิเวอร์ซัล โรบอตส์ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย

How to lose weight on the keto diet Kathryn dennis weight loss Keto diet arthritis weight loss easy How much weight can you lose on the keto diet Diet pills