Categories
Automation

โซลูชันเมื่อขาดแรงงานที่มีทักษะ?

จริงหรือที่ว่า Digitization และ Automation ไม่อาจมาแทนที่แรงงานมากทักษะซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการมากๆ ในเวลานี้ได้

ด้วยทักษะด้าน Digitisation และ Automation ของแรงงาน Skill สูงให้ความหวังว่า ตลาดแรงงานจะผ่อนคลายจากปัญหาขาดแคลนบุคลากรในเร็ว ๆ นี้ ด้วยมุมมองที่ต่างออกไป

Categories
Article Automation News

ระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติ – RPA ตัวเร่งธุรกิจ E-Logistics เปลี่ยนต้นทุนเป็นกำไร

Robotic Process Automation (RPA) เป็นซอฟต์แวร์ที่เติบโตมากที่สุด เมื่อเทียบกับซอฟต์แวร์ระดับองค์กร RPA คือ หุ่นยนต์ที่อยู่ในรูปแบบของซอฟต์แวร์เหมาะสำหรับงานที่ต้องทำซ้ำ ๆ มีปริมาณมาก ๆ ต้องการความแม่นยำและรวดเร็ว

ขณะที่รัฐบาลไทยกำลังเดินหน้าผลักดันนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ให้เกิดขึ้นในทุกภาคส่วนหลายบริษัทในหลากอุตสาหกรรมเองก็กำลังเร่งปรับตัวขนานใหญ่เพื่อรับมือกับความท้าทายทางด้านเทคโนโลยีที่ถาโถมมาอย่างไม่หยุดยั้ง บางแห่งเริ่มนำระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติและเทคโนโลยีต่าง ๆ มาช่วย transform ธุรกิจให้อยู่รอด ลดต้นทุนในกระบวนการต่าง ๆ ภายในองค์กร ตลอดจนนำมาเสริมการให้บริการ อาทิ Big data, Internet of Things (IoT), Cloud, Artificial intelligence (AI), Blockchain ฯลฯ

โดยเฉพาะธุรกิจการขนส่งและโลจิสติกส์นั้นมีภาพรวมการเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอันเป็นผลมาจากการขยายตัวของตลาด e-Commerce ที่มีผู้เล่นรายใหม่ ตบเท้าเข้ามายังตลาด ETDA เคยคาดการณ์มูลค่า e-Commerce ของกลุ่มอุตสาหกรรมการขนส่งอยู่ที่ 1.2 แสนล้านบาท โดยอยู่ในลำดับที่ 5 จาก 8 กลุ่มอุตสาหกรรมทั้งหมดสำหรับปี 2561 แสดงให้เห็นถึงโอกาสการเติบโต และศักยภาพในการขยายตัวของตลาดที่ยังเปิดกว้างแก่ผู้ประกอบการทางด้านนี้หากมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้เปลี่ยนผ่านไปสู่ E-Logistic

RPA_E-Logistics

ข้อมูลจาก PWC เผยว่า Software เป็นหนึ่งเทรนด์ที่สำคัญของการทำธุรกิจด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ (Transport & Logistics) เพราะช่วยเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานภายใน ช่วยลดต้นทุน และสร้างผลลัพธ์ที่ดีให้กับธุรกิจในระยะยาว โดยใช้พื้นฐานมาจากเทคโนโลยีกลุ่ม AI, IoT, Big Data และ Blockchain ซึ่งประกอบด้วย 5 โซลูชั่นสำคัญที่ช่วยก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่

  • โซลูชั่นระบบขนส่งอัจฉริยะ (Intelligent Transport System)
  • โซลูชั่นการคาดการณ์เพื่องานซ่อมบำรุงและตรวจสอบสภาพแวดล้อมด้วยโดรน (Predictive Maintenance and Drone Supervision)
  • โซลูชั่นระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติ (Robotic Process Automation หรือ RPA)
  • โซลูชั่นบล็อกเชนและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง (Blockchain DLT Solutions)
  • โซลูชั่นปัญญาประดิษฐ์ (AI Solutions)

ซึ่งเทคโนโลยีขั้นแรกที่หลายองค์กรนำมาใช้เป็นกลยุทธ์แรก ๆ เพื่อเปลี่ยนผ่านการทำงานภายในสู่การเป็นผู้ให้บริการ E-Logistic สมัยใหม่ ก็คือ RPA (Robotic Processing Automation) เพราะเป็นการเปลี่ยน ต้นทุน ผสานรวมระบบการทำงาน และพัฒนา workforce ไปสู่การสร้างสิ่งใหม่ ๆ ให้กับองค์กรในระยะยาวได้ บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะผู้ให้บริการโซลูชั่น RPA มีแนวทางการปรับใช้ RPA ให้แก่องค์กรด้านโลจิสติกส์มานำเสนอ ดังนี้

แนวทางการปรับใช้ RPA เพื่อดำเนินธุรกิจการขนส่งที่น่าสนใจ

กระบวนการเรียกเก็บเงิน หนึ่งในความท้าทายสำคัญของการดำเนินธุรกิจคือการได้รับเงินโดยเร็วที่สุดหลังจากงานสำเร็จลุล่วงแล้ว โดยปกติขั้นตอนในการเรียกเก็บเงินมีความซับซ้อนและใช้หลายระบบในการทำงาน ซึ่งทำให้เกิดความล่าช้า ซอฟต์แวร์หุ่นยนต์ RPA จะช่วยเชื่อมต่อระบบการทำงานทั้งหมดเข้าด้วยกันโดยอัตโนมัติ และส่งเอกสารใบแจ้งหนี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียกเก็บเงินให้รวดเร็วยิ่งขึ้น

ใช้ปรับกระบวนการสั่งซื้อสินค้า และการชำระเงินให้เป็นแบบอัตโนมัติ หลายบริษัทอาจยังใช้กระบวนการเดิม ๆ ในขั้นตอนการสั่งซื้อสินค้า เช่น ป้อนข้อมูลของลูกค้าแบบ manual ด้วยประสิทธิภาพของซอฟต์แวร์หุ่นยนต์ RPA จะช่วยเชื่อมโยงฐานข้อมูลของลูกค้า ประมวลผลการเบิกจ่ายเงิน ส่งอีเมลยืนยัน และยื่นคำสั่งซื้อแบบอัตโนมัติ

เชื่อมต่อซอฟต์แวร์หุ่นยนต์ RPA เข้ากับพอร์ทัลลูกค้า เพิ่มความเร็วการออกใบแจ้งหนี้ ไม่จำเป็นต้องกรอกข้อมูลซ้ำ ๆ บนระบบ หรือแนบข้อมูลเข้าไปกับใบแจ้งหนี้ด้วยตนเองอีกต่อไป สามารถใช้ซอฟต์แวร์หุ่นยนต์ RPA ช่วยดึงข้อมูลพร้อมทั้งแนบไฟล์ POD ที่สแกนเรียบร้อยแล้วไปพร้อมกับใบแจ้งหนี้ได้โดยอัตโนมัติ และสามารถอัพเดตข้อมูลดังกล่าวบนพอร์ทัลลูกค้าภายในไม่กี่วินาทีแทนที่แบบเดิมที่จะต้องเสียเวลาเป็นวัน ๆ

เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารของลูกค้าด้วยคำสั่งซื้อแบบอัตโนมัติ และ ช่วยติดตามสินค้าในคลัง ใช้ซอฟต์แวร์หุ่นยนต์ RPA เพื่อช่วยตรวจสอบข้อมูลการจัดส่งสินค้า/เว็ปไซต์ เพื่อตรวจสอบว่าข้อมูลนั้นถูกต้อง และตรงกัน โดยเชื่อมโยงกับข้อมูลคำสั่งซื้อในระบบการจัดการคลังสินค้า ช่วยให้สามารถติดตามและตอบสนองกับลูกค้าได้รวดเร็วและสะดวกยิ่งขึ้น

RPA System
ตัวอย่าง ภาพระบบ RPA ที่เหมาะแก่ธุรกิจการขนส่งและโลจิสติกส์

ข้อมูลจาก Gartner ชี้ว่า Robotic Process Automation (RPA) เป็นซอฟต์แวร์ที่เติบโตมากที่สุดถึง 63% เมื่อปี 2561 และคาดการณ์ปีนี้จะมีมูลค่าราว 1.3 พันล้านดอลลาร์ (ราว 4 หมื่นล้านบาท) เมื่อเทียบกับซอฟต์แวร์ระดับองค์กร RPA คือ หุ่นยนต์ที่อยู่ในรูปแบบของซอฟต์แวร์เหมาะสำหรับงานที่ต้องทำซ้ำ ๆ มีปริมาณมาก ๆ ต้องการความแม่นยำและรวดเร็ว เช่น งานทางด้านป้อนข้อมูลเข้าระบบ งานบัญชี เป็นต้น เพราะ RPA มีความสามารถในการจัดการข้อมูลจำนวนมากจึงเป็นทางเลือกแรกที่ตอบโจทย์ธุรกิจประเภทนี้เนื่องจากจะเข้าไปช่วยจัดทำและเปลี่ยนแปลงข้อมูลขั้นพื้นฐาน อาทิ เอกสารพวกใบวางบิล ใบกำกับสินค้า รวมไปถึงกระบวนการรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า และการตรวจสอบการบันทึก พวกใบสั่งซื้อสินค้า หรือเอกสารทางด้านกฎหมาย เป็นต้น

ปัจจุบันมีธุรกิจคนไทยที่นำ RPA มาใช้อย่างเต็มรูปแบบในเชิงปฏิบัติการแล้ว คือ บริษัท ซีทีไอ โลจิสติกส์ ที่นำระบบนี้มาใช้เปลี่ยนโฉมการทำงานของคน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานควบคู่ไปกับการลดต้นทุนด้านการดำเนินงานทางด้านเอกสารภายใน ช่วยให้กระบวนการดำเนินงานภายในองค์กรราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ RPA ยังช่วยให้พนักงานมีเวลาเพิ่มขึ้น สามารถไปทำงานในเชิงคิดวิเคราะห์หรืองานที่เพิ่มคุณค่าให้กับองค์กรได้ ซึ่งองค์กรจะได้รับประโยชน์ทั้งในด้านคุณภาพของงานจากบุคลากรที่มีทักษะ และปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นจาก RPA ช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีศักยภาพได้อีกด้วย

RPA_Logistics

นอกจากการลงทุนนำโซลูชั่น RPA มาใช้เพื่อ transform ธุรกิจแล้ว ผู้บริหารควรมีการวิเคราะห์ ออกแบบและวางแผนล่วงหน้า หรือปรึกษาบริษัทผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยให้การนำซอฟต์แวร์ดังกล่าวมาปรับใช้กับเนื้องานของธุรกิจได้อย่างเหมาะสม เพิ่มประสิทธิภาพงานที่มีอยู่ในขณะเดียวกันก็แบ่งเบาภาระงานที่เคยต้องใช้แรงงานมนุษย์ในการปฏิบัติการเป็นหลัก สอดคล้องกับข้อสรุปของเหล่า CEOs ในแวดวงโลจิสติกส์ที่ตอกย้ำถึงทิศทางของการดำเนินธุรกิจวันนี้ว่า ควรให้ความสำคัญต่อการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ (Operational Efficiencies) เป็นลำดับแรกสูงถึง 71%

ดังนั้นบริษัทที่ควรนำระบบอัตโนมัติ RPA เข้ามาประยุกต์ใช้กลุ่มแรก ๆ คือ บริษัทที่กำลังเผชิญหน้ากับปัญหาของระบบงานหลังบ้าน มีต้นทุนจากการจ้างแรงงานจากภายนอก และต้องการเปลี่ยนต้นทุนให้ย้อนกลับมาเป็นกำไรนั่นเอง

 

บทความโดย: บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด

Categories
Article

UMATI คืออะไร? รู้จักเทคโนโลยีทีเด็ดสำหรับ Machine Tools ยุค 4.0

หนึ่งในเทคโนโลยีเด็ดประจำปี 2019 สำหรับ Machine Tools คงหนีไม่พ้น UMATI หรือ Universal Machine Tool Interface มาตรฐานใหม่ที่ได้รับการยอมรับจากผู้ผลิตเครื่องจักรอุตสาหกรรมทั่วโลก!

UMATI มาตรฐานใหม่สำหรับเครื่องจักรอุตสาหกรรม

ตั้งแต่การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีดิจิทัลและความก้าวหน้าของอุตสาหกรรม 4.0 ผู้ผลิตชั้นนำต่าง ๆ พยายามผลักดันมาตรฐานระบบของตัวเองเพื่อก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในตลาด ทำให้ปัจจุบันมีมาตรฐานต่าง ๆ มากมายแตกต่างกันไป และหลายครั้งทำให้ยากต่อการใช้งานเครื่องจักรหรือเครื่องมือในการผลิตที่ต้องทำงานกันข้ามค่าย

ก่อนที่จะแยกทางกันไปไกลกว่านี้สมาคมผู้ผลิต Machine Tool แห่งเยอรมนี Verein Deutscher Werkzeugmaschinenfabriken e.V. (VDW) และพันธมิตรอีก 17 บริษัทจึงได้ร่วมกันพัฒนาแพลตฟอร์มอัจฉริยะในการเชื่อมต่อเข้ากับ IT Ecosystem ที่เป็นมาตรฐานสากลซึ่งจะกลายเป็นมาตรฐานกลางสำหรับการใช้งาน Machine Tool

หน้าที่หลักของ UMATI (Universal Machine Tool Interfacte) คือ การเป็นตัวกลางหรือเป็นภาษาสากลในการสื่อสารของ Machine Tool ต่าง ๆ ภายใต้การทำงานของแนวคิด Industry 4.0 หรือ IIoT (Industrial Internet of Things)

UMATI นั้นได้รับการพัฒนาที่มีพื้นฐานจาก OPC UA หรือ ซึ่งเป็นมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลสำหรับออโตเมชันในงานอุตสาหกรรมและกิจการอื่น ๆ ที่มีพื้นฐานซึ่งให้ความสำคัญกับข้อมูลดังนี้

  • Functional Equivalence สามารถรองรับการทำงานได้เทียบเท่า COM OPC Classic
  • Platform Independence รองรับแพลตฟอร์มได้อย่างอิสระไม่ว่าจะเป็น Embedded Micro-controller ไปจนถึงโครงสร้างพื้นฐานจาก Cloud ไร้ข้อจำกัดสำหรับฮาร์ดแวร์และระบบปฏิบัติการณ์
  • Secure มีการเข้ารหัส การพิสูจน์ตัวตน  และการตรวจสอบ
  • Extensible สามารถเพิ่ม Feature ใหม่ ๆ ได้โดยไม่กระทบกับระบบเดิม
  • Comprehensive Information Modeling สามารถระบุข้อมูลที่ซับซ้อนได้

โดย UMATI ให้ความสำคัญกับผู้ใช้งาน Machine Tool และอุตสาหกรรม Machine Tools ซึ่งมีพื้นฐานมาจากระบบมาตรฐานเปิด โดยมีจุดเด่นสำคัญ 2 ประการ ได้แก่

  • ทำให้การใช้ประโยชน์จากเชื่อมต่อของ Machine Tool เป็นเรื่องง่าย สามารถเข้ากันได้กับความต้องการด้านโครงสร้างพื้นฐาน IT และสภาพแวดล้อมของลูกค้า
  • ลดต้นทุนด้วยความสามารถในการทำความเข้าใจโครงการของลูกค้าที่มีความต้องการเฉพาะตัวได้อย่างรวดเร็ว

แน่นอนว่านี่ยังไม่ใช่ความสามารถทั้งหมดของ UMATI เนื่องจากในตอนนี้ยังเป็นโครงการที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตั้งเป้าหมายให้ครอบคลุมการใช้งานในประเด็นดังนี้

  • สามารถระบุตัวตนของเครื่องจักรได้
  • แสดงสถานะการทำงานของ Machine Tool
  • แสดงรายละเอียดข้อมูลของลำดับคำสั่งการผลิต
  • แสดงข้อมูลวัตถุดิบ เช่น พลังงานที่ใช้ วัสดุ
  • แสดงข้อมูลของอุปกรณ์และชิ้นง่าน
  • เป็นระบบที่สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้
  • สามารถคาดการณ์การตอบสนองของผู้ใช้ได้

UMATI แพลตฟอร์มสำหรับใคร?

การเกิดขึ้นของ UMATI นั้นทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงและจับต้องเทคโนโลยี 4.0 สำหรับ Machine Tool ได้ผ่านมาตรฐานกลาง ซึ่งแต่เดิมผู้ผลิตต่างแยกย้ายแข่งขันกันพัฒนา ทำให้เมื่อมีการเปลี่ยนเครื่องจักร หรือเกิดการ ‘ย้ายค่าย-ทีมเดิม’ ทำให้เกิดปัญหาในการทำงานที่ไม่ต่อเนื่อง ต้องมาฝึกอบรมการใช้งานมาตรฐานใหม่ตั้งแต่พื้นฐานระบบ แทนที่จะสามารถต่อยอดจากของเดิม

การเกิดขึ้นของภาษากลางสำหรับ Machine Tool จึงเหมาะสำหรับทุกอุตสาหกรรมที่ต้องใช้งานเครื่องจักรในกลุ่มนี้ อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ซึ่งอยู่ในภาวะการเปลี่ยนผ่านสู่ยานยนต์ไฟฟ้าและต้องการการผลิตที่ละเอียดรอบคอบ มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น หรืออุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนอากาศยานที่ต้องการความแม่นยำและประสิทธิภาพที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น

ในระยะยาวการเกิดขึ้นของ UMATI ในฐานะมาตรฐานจะมีส่วนทำให้รากฐานการศึกษาจากสถาบันต่าง ๆ เป็นปึกแผ่นมากยิ่งขึ้น ไม่ขึ้นอยู่กับการสนับสนุนจากผู้ผลิตเฉพาะรายซึ่งสร้างความแตกต่างของทักษะแรงงานในตลาด และอาจส่งผลให้เกิดการผูกขาดตลาดผ่านทางทักษะแรงงานอีกด้วย เมื่อการศึกษาการวางรากฐานมีพื้นที่ส่วนกลาง การเรียนรู้และต่อยอดจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สามารถทดลองใช้งานได้ที่ https​://umati.app

ดังนั้น UMATI จะกลายเป็นรากฐานสำคัญ เป็นเสาหลักใหม่ที่หยั่งรากลึกสำหรับ Machine Tool ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 หรือยุคการเชื่อมต่อไร้พรหมแดนของ IIoT ที่จะทำให้ผู้ผลิตสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ต้องกังวลกับทักษะในการใช้งานเครื่องมืออีกต่อไป

อ้างอิง:
Vdw.de/en/technology-and-standardisation/umati-universal-machine-tool-interface/
Opcfoundation.org/markets-collaboration/umati/
Opcfoundation.org/about/opc-technologies/opc-ua/

Categories
Article

RPA เทคโนโลยีฝั่ง IT ที่คนอุตสาหกรรมควรรู้จัก

Robotic Process Automation (RPA) เป็นการใช้งานซอฟต์แวร์ในการบริหารจัดการข้อมูลแทนมนุษย์ ซึ่งกลายเป็นอีกเทคโนโลยีสำคัญที่ช่วยผลักดันการทำงานในยุคดิจิทัลสำหรับทางฝั่ง IT แต่ในวันนี้เราจะมาพูดคุยกันถึงเรื่องการใช้งานสำหรับกิจการโรงงานอุตสาหกรรมกันครับ

Categories
News

INDUSTRY TREND: WHAT IS A SMART CITY? เล่าเรื่องเมืองอัจฉริยะ

กล่าวให้สั้น เมืองอัจฉริยะ หรือ smart city ก็คือเมืองที่ถูกบริหารจัดการด้วยเทคโนโลยีอันชาญฉลาด ช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบดูแลพื้นที่ได้แบบ real-time ส่งผลให้เกิดการใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่าและลดค่าใช้จ่ายด้วยความช่วยเหลือของเทคโนโลยี เป็นข้อได้เปรียบสองประการสำคัญของความเป็นเมืองอัจฉริยะ

smart city 1
Big Data, machine learning and Internet of Things are incorporated in numerous segments of smart cities which make them more friendly and liveable towards people living in it. ( Source: Deposit Photos )

กล่าวให้ง่าย เมืองสมาร์ทคือทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการทำให้สิ่งต่าง ๆ เป็นไปอย่างชาญฉลาดด้วยความช่วยเหลือของเทคโนโลยีอัจฉริยะ ทั้งหมดของแนวคิดยอดนิยม เช่น Big Data, machine learning และ Internet of Things (IOT) ถูกบรรจุไว้ในหลายๆ ส่วนของเมือง สร้างความเป็นมิตร น่าอยู่และสะดวกสบายมากขึ้นกับผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมือง

ข้อมูลจากเว็บไซต์การศึกษาด้าน IT, Technopedia เมืองอัจฉริยะคือการมอบตำแหน่งเมืองที่รวมเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เพื่อยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพของการบริการภายในเมือง หรือ urban services เช่น ด้านพลังงาน การขนส่งและสาธารณูปโภค เพื่อลดการใช้ทรัพยากร ความสิ้นเปลืองและค่าใช้จ่ายทั้งหมด โดยเป้าหมายสำคัญของ Smart City คือการยกระดับคุณภาพชีวิตของพลเมืองด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ

Dubai’s smart city infrastructure

มีหลายประเทศที่กำลังสำรวจ-ศึกษาแนวความคิดนี้ และได้พิสูจน์แล้วว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ตัวอย่างเช่น ดูไบได้ลงทุนกว่า 8 พันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเมืองอัจฉริยะ ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นไปตามความคิดริเริ่ม ‘‘Smart Dubai’ ที่ประกาศในปี 2013 โดย H. H. Sheikh Mohammed bin Rashid Al Maktoum รองประธานและนายกรัฐมนตรีแห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และผู้ปกครองนครดูไบ เป็นไปเพื่อเปลี่ยนดูไบไปสู่ ‘smart city’

ดูไบมีเป้าหมายที่จะเป็นเมืองอัจฉริยะแห่งแรกของโลก จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ดูไบจะเปิดตัวบริการอัจฉริยะที่น่าทึ่งมากมาย รวมถึงแอพอัจฉริยะของรัฐบาลดูไบที่เปิดตัวในชื่อ ‘Dubai Now’ ด้วยความช่วยเหลือของแอพนี้ชาวนครดูไบสามารถชำระค่าไฟฟ้า จองรถแท็กซี่ ติดตามพัสดุ ค้นหาตู้เอทีเอ็มใกล้เคียง รายงานการละเมิดกฎหมายต่อตำรวจดูไบ แม้แต่การติดตามสถานะวีซ่า ทั้งหมดนี้ในแอพเดียวต่อจากนั้น ดูไบได้เปิดตัวสถานีตำรวจอัตโนมัติอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งผู้คนสามารถเข้ามาขอความช่วยเหลือจากตำรวจได้ปกติ เปิดให้บริการประชาชนแบบ 24/7: 24 ชั่วโมง 7 วัน โดยไม่ต้องใช้เจ้าหน้าที่ประจำสถานี โดยที่ประชาชนสามารถรายงานเหตุอาชญากรรม เหตุการณ์การจราจร สิ่งของสูญหายและอื่น ๆ ได้เหมือนไปแจ้งความตามปกติ เมื่อเข้าไปในสถานี ผู้มาติดต่อจะถูกนำไปยังห้องส่วนตัวที่สามารถสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ผ่านทางหน้าจอโทรทัศน์ขนาดใหญ่

Smart City 2

Barcelona’s smart systems

เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน วางแผนที่จะประหยัดเงินหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐในแต่ละปีในภาคพลังงานด้วยการติดตั้งระบบอัจฉริยะต่าง ๆ เช่น ไฟถนนอัจฉริยะ (smart street lighting) ไฟถนนจะทำงานร่วมกับระบบเซ็นเซอร์ในการทำงานยามค่ำคืน คอยตรวจจับความเคลื่อนไหวภายในเมือง ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่าย (ในการจ้างเวรยามหรือจ่ายค่าล่วงเวลา) และใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ชาวเมืองจะสามารถตรวจหาจุดจอดรถได้อย่างสะดวกสบายโดยการรับข้อมูลแบบ real-time ผ่านแอพ เทคโนโลยีนี้เป็นไปได้ด้วยระบบเซ็นเซอร์ที่จอดรถ หรือ parking sensors ที่ใช้ประโยชน์จากแสงไฟและเครื่องตรวจจับโลหะเพื่อตรวจจับว่ามีที่ว่างหรือไม่

ส่วนระบบอัจฉริยะที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือ ระบบเซ็นเซอร์ขยะ หรือ garbage sensor

ในกรณีนี้ถังขยะจะเป็นเหมือนที่ดูดฝุ่นที่ดูดขยะทางผ่านท่อใต้ดิน กระบวนการอัตโนมัติที่เป็นนวัตกรรมนี้ช่วยลดค่าใช้จ่ายและยังช่วยลดมลพิษทางเสียงของรถขนขยะ นี่เป็นเพียงคุณสมบัติอันชาญฉลาดบางส่วนที่เมืองต่าง ๆ นำมาใช้เพื่อเปลี่ยนนครธรรมดาให้เป็นเมืองอัจฉริยะที่สมบูรณ์แบบในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

ทั่วโลกมีหลายประเทศที่ใช้บริการอัจฉริยะและสิ่งอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ หลากหลายภาระกิจที่ใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะ ทั้งหมดมีมีวัตถุประสงค์เพื่อให้โครงสร้างพื้นฐานหลักมีสภาพแวดล้อมที่สะอาดและยั่งยืนสำหรับประชาชนและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรอย่างเต็มที่

แทบไม่ต้องสงสัยเลยว่าเมืองอัจฉริยะคืออนาคต!

barcelona Smart City

Categories
Article

6 เทรนด์ที่ต้องจับตามองในวงการหุ่นยนต์อุตฯ

การใช้งานออโตเมชันและหุ่นยนต์นั้นเป็นส่วนสำคัญในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยุคปัจจุบัน ซึ่งการแข่งขันภายใต้สภาวะการณ์ของเศรษฐกิจโลกที่ผันผวนรวมไปถึงการเติบโตของเทคโนโลยีที่รวดเร็วพอ ๆ กับน้ำแข็งขั้วโลกละลายนั้นทำให้เทรนด์ที่เกี่ยวข้องกับหุ่นยนต์อุตสาหกรรมในปัจจุบันเกิดการแปรเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วเช่นกัน