Categories
News

วิจัยชี้ค่าแรงเพิ่มขึ้น 1% นำไปสู่การใช้งานระบบอัตโนมัติเพิ่มขึ้น 5%

 

การใช้งานระบบอัตโนมัติกลายเป็นกลไกสำคัญในการแข่งขันของธุรกิจในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการผลิตที่ช่วยในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอันไม่แน่นอนได้อย่างมักศักยภาพ โดยการศึกษาล่าสุดจาก UZH แสดงให้เห็นว่าค่าแรงขั้นต่ำของแรงงานทักษะระดับต่ำเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการปรับตัวใช้งานระบบอัตโนมัติมากยิ่งขึ้น แต่ในมุมของแรงงานทักษะสูงนั้นแตกต่างออกไป

ข้อมูลการวิจัยจาก Universität Zürich ได้ยืนยันคำถามที่ว่า “เมื่อมีการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำจะเป็นการกดดันให้เกิดการใช้งานระบบอัตโนมัติหรือไม่?” ได้เป็นอย่างดีภายใต้สมการเพิ่มขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำนั้นส่งผลให้องค์กรนั้นหันมาหานวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อลดต้นทุนในการจ้างงานที่มีราคาสูงขึ้น

เข้าใจตลาดการใช้งานระบบอัตโนมัติผ่าน ‘สิทธิบัตร’ และการวิเคราะห์ค่าแรง

ในการศึกษาครั้งนี้ได้ใช้แนวทางที่ผสมผสานชุดข้อมูลที่แตกต่างกัน 2 ชุด โดยข้อมูลชุดแรกเป็นวิธีการที่พัฒนาขึ้นมาใหม่โดยการระบุสิทธิบัตรของเทคโนโลยีอัตโนมัติทีใช้ผ่านข้อมูลสิทธิบัตรยุโรป วิธีการดังกล่าวทำให้นักวิจัยสามารถวัดกิจกรรมของนวัตกรรมในองค์กรด้วยการติดตามการใช้งานสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับระบบอัตโนมัติใในระดับองค์กร ซึ่งกลุ่มที่ให้ความสำคัญได้แก่ สิทธิบัตรของ Machine Tools, เครื่องจักรสิ่งทอ และเครื่องจักรที่เกี่ยวกับกระดาษ

ชุดข้อมูลเหล่านี้จะถูกผสมผสานกับชุดข้อมูลเศรษฐศาสตร์มหภาคคอรบคลุม 41 ประเทศ ซึ่งจะให้ความสำคัญกับหน่วยงานที่เปิดเผยข้อมูลตลาดแรงงานระดับสากล นักวิจัยจึงสามารถคำนวณระดับค่าแรงและวิเคราะห์ความผันผวนด้านค่าแรงที่ขับเคลื่อนการใช้งานนวัตกรรมระบบอัตโนมัติได้ เปิดเผยให้เห็นถึงผลกระทบของต้นทุนแรงงานที่มีต่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยีรวมถึงเข้าใจองค์กรต่าง ๆ มากขึ้นในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงจากค่าจ้างขั้นต่ำ

แรงงานทักษะต่ำค่าแรงเพิ่มขึ้น 1% ส่งผลต่อแนวโน้มการใช้งานระบบอัตโนมัติที่เกี่ยวข้องสูงสุดเพิ่มขึ้น 5%

ผลจากการวิเคราะห์ตลาดแรงงานในอดีตรวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเทรนด์ด้านนวัตกรรม แสดงให้เห็นว่าการมีค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้นนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติมากยิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน  โดยข้อมูลยิ่งชี้ชัดไปในประเด็นของการเพิ่มค่าแรงในส่วนของแรงงานที่มีทักษะระดับต่ำจะส่งผลต่อการลงทุนนวัตกรรมระบบอัตโนมัติเพื่อลดต้นทุนการผลิต

ข้อมูลชี้ให้เห็นว่าการเพิ่มขึ้นของค่าแรง 1% นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง 2% ถึง 5% ในทางกลับกันการเพิ่มขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำสำหรับแรงงานทักษะสูงจะเป็นการลดนวัตกรรมระบบอัตโนมัติ เช่น การใช้งานเทคโนโลยีหรือการทำงานหน้างาน รวมถึงการติดตั้งเครื่องจักรอัตโนมัติที่ต้องการแรงงานที่ได้รับการรับรองในระดับสูง กลายเป็นว่าต้นทุนแรงงานที่สูงขึ้นทำให้ระบบอัตโนมัติมีราคาแพงขึ้น ลดผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น และทำให้การใช้งานนวัตกรรมอาจเป็นสิ่งที่ต้องรอไปก่อน

นโยบายปรับลดโครงสร้างค่าแรงส่งผลต่อการลงทุนระบบอัตโนมัติ

จากการศึกษาตัวอย่างกรณี Hartz Reform ในเยอรมนีพบว่ามีผลกระทบที่เกิดขึ้นที่คล้ายคลึงกัน การปรับเปลี่ยนโครงสร้างตลาดแรงงานในระหว่างปี 2003 – 2005 นั้นเชื่อกันเป็นวงกว้างว่าเพิ่มซัพพลายของแรงงานและลดค่าแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแรงงานทักษะต่ำ ซึ่งการศึกษานี้ยืนยันว่าการปรับโครงสร้างที่เกิดขึ้นนำไปสู่การลดการใช้งานนวัตกรรมระบบอัตโนมัติในองค์กรที่อยู่ในเยอรมนี การเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มต้นทุนค่าแรงและ Hartz Reform ทำให้เห็นภาพของนโยบายตลาดแรงงานที่ส่งผลเปลี่ยนแปลงแรงจูงใจในการลงทุนระบบอัตโนมัติโดยตรง

อย่างไรก็ตาม งานวิจัยยังค้นพบอีกว่านวัตกรรมที่ไม่ใช่ระบบอัตโนมัติ เช่น การยกระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงานนั้นไม่ได้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าจ้าง

ที่มา:
Uzh.ch