Categories
News

EEC เตรียมคลอดผังเมืองใหม่!

ภายใต้ความขัดแย้งและแตกแยกของผู้คนในพื้นที่ EEC และผู้ออกนโยบาย ภาครัฐเตรียมผลักดันการวางผังเมืองใหม่สำหรับพื้นที่ไข่แดงของประเทศไทย 4.0 อย่าง EEC หรือระเบียงเศรษฐกิจตะวันออกให้มีความชัดเจน เร่งเดินหน้าหวังชิงชัยดึงดูดการลงทุน

ผังเมืองของ EEC นั้นมีพื้นที่รวมกว่า 8.291 ล้านไร่ หรือ 13,266 ตร.กม. แยกเป็น จ.ฉะเชิงเทรา 5,331 ตร.กม. หรือ 3.34 ล้านไร่ ชลบุรี 4,363 ตร.กม. หรือ 2.726 ล้านไร่ และระยอง 3,552 ตร.กม. หรือ 2.22 ล้านไร่ ซึ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินจะมองเป็นภาพรวม 20 ปีถึงปี 2580 โดยแบ่งที่ดินออกเป็นเป็น 4 กลุ่มหลัก 11 ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่

  1. พื้นที่พัฒนาเมือง พื้นที่ส่งเสริมพิเศษ สนับสนุนการพัฒนาเมืองใหม่และเมืองเดิม ซึ่งพื้นที่เหล่านี้กระจายตัวอยู่บริเวณที่ราบลุ่มปากแม่น้ำ ขนานไปตามชายฝั่งทะเล ตลอดแนวสองข้างของถนนสุขุมวิทและบริเวณที่เป็นย่านศูนย์กลางหลักของอำเภอ ประกอบด้วยการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทศูนย์กลางเมืองจะเป็นพื้นที่สีแดง (พาณิชยกรรม) สีส้ม (ชุมชนเมือง) สีส้มอ่อน มีจุดสีขาว (รองรับการพัฒนาเมือง) และสีน้ำตาล (เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการพิเศษ)
  2. พื้นที่พัฒนาเกษตรกรรม พื้นที่ที่มีศักยภาพเหมาะสมต่อการเกษตร เพื่อรักษาแหล่งผลิตอาหารและผลไม้เมืองร้อนของประเทศ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ของจังหวัดฉะเชิงเทราต่อเนื่องมาทางด้านตะวันออกของจังหวัดชลบุรี และด้านชายฝั่งทะเลตอนล่างของจังหวัดระยอง ด้านการใช้ประโยชน์มีสีเหลืองอ่อน (ชุมชนชนบท) สีเขียวอ่อน (ส่งเสริมเกษตรกรรม) สีเหลืองทแยงสีเขียว (เขตปฏิรูปที่ดิน)
  3. พื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรมบริเวณที่เป็นที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรมเดิมและบริเวณพื้นที่ที่ได้ทำการศึกษาวิเคราะห์ว่ามีศักยภาพที่จะพัฒนาในด้านอุตสาหกรรมได้อย่างเหมาะสมโดยจะกระจายตัวบริเวณจังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยอง เช่น บางส่วนของอำเภอศรีราชา บ้านบึง ปลวกแดง บ้านค่าย เป็นต้น ซึ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินกำหนดเป็นสีม่วง (เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการอุตสาหกรรม) และสีม่วงอ่อนมีจุดสีขาว (พัฒนาอุตสาหกรรม)
  4. พื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ พื้นที่ป่าไม้ แหล่งน้ำ ชายฝั่งทะเล การใช้ประโยชน์ที่ดินกำหนดเป็นสีเขียวมีเส้นทแยงสีฟ้า (ที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม) และสีเขียวอ่อนมีเส้นทแยงสีขาว (อนุรักษ์ป่าไม้) ยังมีแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค 8 ระบบ ประกอบด้วย 5 แผนผัง และ 1 มาตรการ ได้แก่ แผนผังระบบสาธารณูปโภค ระบบเทคโนโลยีและการสื่อสาร และระบบการควบคุมและขจัดมลพิษ

แผนผังระบบคมนาคมและขนส่ง, แผนผังระบบคมนาคมและขนส่ง, แผนผังระบบการตั้งถิ่นฐานและภูมิสังคม, แผนผังระบบบริหารจัดการน้ำ, แผนผังระบบป้องกันอุบัติภัย และมาตรการระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับการประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมาย อุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ และการประกอบกิจการลดพื้นที่เกษตร 8.13%

“หลัก ๆ พื้นที่เกษตรหายไป 8.13% จากเดิม 66.63% เหลือ 58.50% เพราะบางพื้นที่ เช่น ระยอง เป็นสวนทุเรียนก็อยู่เหมือนเดิม แต่พื้นที่ปลูกมัน สับปะรด ที่ไม่ได้ผล นำมาพัฒนาเป็นอย่างอื่นแทน ซึ่งพื้นที่เกษตรชั้นดีคงอยู่หมดไม่ได้แตะ เช่น อำเภอบางคล้า ฉะเชิงเทรา”

สำหรับพื้นที่เมืองพาณิชยกรรมและชุมชนเพิ่มขึ้น 3.36% จาก 9.87% เป็น 13.23% ทั้งพื้นที่เดิมและขยายตัวไปยังพื้นที่ใหม่ ไม่ว่าจะเป็นชลบุรี ศรีราชา พัทยา ระยอง ไปตามแรงดึงดูดที่จะทำให้เกิดเมือง เช่น ถนน รถไฟความเร็วสูง อย่างเช่น อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา อยู่ใกล้กับสถานีรถไฟความเร็วสูงกำหนดให้เป็นพื้นที่ที่อยู่อาศัยชั้นดี แทนที่จะพัฒนาเป็นสถานีขนส่งและกระจายสินค้า (ไอซีดี) ตามที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาไว้ จะทำให้เป็นการพัฒนาเมืองพิการ

ผังเมืองใหม่ EEC นั้นมีการส่งเสริมการพัฒนารัศมี 1-2 กม. รอบสถานีรถไฟความเร็วสูงเพื่อพัฒนาเมือง ไม่ว่าจะเป็นฉะเชิงเทรา พัทยา ชลบุรี ซึ่งกรมมีการจัดรูปที่ดินที่รัฐสามารถนำมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาได้ ช่วยลดภาระการลงทุนค่าก่อสร้าง เช่น โดยรอบมีพื้นที่ 10,000 ไร่ รัฐขอจัดรูป 10% จะได้ 1,000 ไร่ นำมาพัฒนาเมือง โดยรัฐไม่ต้องเวนคืนที่ดินทำให้ลดระยะเวลาดำเนินการรวมไปถึงการลงทุนได้อีกด้วย

ที่มา:
Prachachat.net