Categories
Article

INDUSTRY 4.0: สิ่งที่จำเป็นต้องมีสำหรับ IOT ที่ฉับไว

เป็นความจริงที่ว่า คลาวด์ไม่เหมาะสำหรับการประมวลผลข้อมูลจำนวนมากแบบ real-time บริษัทสายการผลิตเชิงอุตสาหกรรมควรใช้ระบบการประมวลผลที่เรียกว่า Edge Computing ซึ่งจะช่วยลดเวลาในการรับส่งข้อมูล (Latency) ได้มากกว่า

*Edge Computing คือการประมวลผลข้อมูลที่อยู่ใกล้กับแหล่งข้อมูลให้มากที่สุด อาจจะอยู่ในรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูล การประมวลผลข้อมูลเชิงสถิติ ซึ่งแทนที่จะเอาข้อมูลจำนวนมหาศาลขึ้นไปประมวลผลบน Cloud ก็เอาข้อมูลเหล่านั้นมาประมวลผลที่ต้นทางที่ใกล้กับแหล่งข้อมูลมากที่สุด หรือ Edge นั่นเอง สาเหตุหลักที่ทำให้การประมวลผลจำเป็นต้องอยู่ที่ต้นทาง (Edge)

จาก Cloud report ประจำปีครั้งที่สามของ McAfee ระบุะว่า 96% ของบริษัทเยอรมันทั้งหมดใช้บริการคลาวด์อยู่แล้ว ตามที่สมาคมอุตสาหกรรม Bitkom ระบุว่า พวกเขาใช้ซอฟต์แวร์สำนักงาน (office) บนคลาวด์ 46%, โซลูชันด้านความปลอดภัย 44% และกรุ๊ปแวร์ เช่น อีเมลและปฏิทิน 35% อย่างไรก็ตาม cloud concept นั้นไม่เหมาะเมื่อต้องประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาลแบบ real-time ตัวอย่างเช่น กรณีที่เครื่องจักรในการผลิตต้องตัดสินใจอย่างรวดเร็วและเป็นอิสระ ข้อมูลก็ควรจะถูกประมวลผลแยกจากศูนย์กลางโดยไม่ต้องถ่ายโอนไปยังคลาวด์ก่อน นอกจากนี้การประมวลผลข้อมูลแบบแยกจากศูนย์ หรือ decentralized data processing ยังเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญประการหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับระบบการขับขี่อัตโนมัติที่เป็นเครือข่าย (autonomous and networked driving) แปลได้อีกว่า คลาวด์ไม่เหมาะกับกระบวนการนี้อย่างแน่นอน สิ่งที่ต้องการในที่นี้ก็คือเทคโนโลยีที่เราเรียกว่า Edge Computing

**Decentralized data process คือการประมวลผลข้อมูลแบบแยกจากศูนย์ หมายถึงการประมวลผลข้อมูลที่มีการเก็บข้อมูลไว้ที่หน่วยงานแต่ละหน่วย ต่างฝ่ายต่างประมวลผลไปได้เองโดยไม่ต้องอาศัยข้อมูลจากกัน

ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์สามารถรับ-ส่งได้ด้วยการเชื่อมต่อที่ดีและขนาดของแบนด์วิดธ์ (ปริมาณการรับและการส่งข้อมูล) ที่ใหญ่พอ นอกจากนี้แม้จะมีการเชื่อมต่อที่ดี แต่เวลาในการรับส่งข้อมูลสำหรับ LTE หรือ Long Term Evolution (4G) อาจนานเกินไปเมื่อต้องใช้งานรับ-ส่งข้อมูลเกี่ยวกับการจราจรบนถนน ยานพาหนะที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์จะต้องสามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดได้แบบทันท่วงทีไม่มีดีเลย์ ซึ่งมันก็คือระยะเวลาที่ใช้ในการถ่ายโอนข้อมูลจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดประมวลผล เช่น ไปยังคลาวด์ นอกจากนี้ กระบวนการในการถ่ายโอนหรือส่งข้อมูลดังกล่าวก็อาจเป็นประตูให้กับอาชญากรไซเบอร์ได้

กล่าวให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ การถ่ายโอนข้อมูลวิเคราะห์ไปยังคลาวด์ก่อนไม่ใช่วิธีที่เหมาะสมกับการประมวลผลที่ต้องการความฉับไวทันที เช่น ในระบบการขับขี่อัตโนมัติ

fast IoT
Fast processing of huge amounts of data in the cloud? The latency of edge computing is much shorter. (Source: Markus Spiske/Unsplash)

Edge computing สามารถช่วยได้ในกรณีเหล่านี้ เพราะข้อมูลจำนวนมหาศาลจะถูกประมวลผลโดยตรงที่เครือข่ายต้นทาง (The edge of the network) หมายความว่าข้อมูลจะไม่ถูกถ่ายโอนไปยังศูนย์ข้อมูลก่อนแล้วจึงตีกลับมาอีกครั้ง แต่จะถูกวิเคราะห์ที่ต้นทางของข้อมูลและนำไปใช้ได้ทันที ระยะเวลาในการรับ-ส่งข้อมูลที่สั้นลงนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสมบูรณ์แบบและความสำเร็จของการขับขี่อัตโนมัติ รวมทั้งสภาพแวดล้อมของ 5G และการผลิตเชิงอุตสาหกรรมทั้งหมด และนั่นคือข้อได้เปรียบที่สำคัญที่สุดของ Edge Computing

แต่เพื่อใช้ประโยชน์จาก Edge Computing ได้อย่างเต็มที่ สิ่งสำคัญก็คือการเชื่อมต่อเครือข่ายต้องพร้อมใช้งานตลอดเวลาทั้งบอร์ดและความน่าเชื่อถือได้ ดังนั้นจึงต้องมีความโปร่งใสชนิดไม่มีผิดเพี้ยน เช่น มุมมองแบบ end-to-end ของแอปพลิเคชันในเครือข่ายทั้งหมด อย่างไรก็ตาม หากข้อมูลไม่ได้รับการประมวลผลอย่างต่อเนื่อง ไม่ได้มาตรฐานและไม่มีความสัมพันธ์แบบ “on the edge” ก็เป็นเรื่องยากที่จะได้รับข้อมูลเชิงลึกแบบ real-time เข้าสู่แอปพลิเคชันรวมถึงความปลอดภัยของบริการ

ข้อมูลอัจฉริยะ หรือ Smart data คือ ข้อมูลพิเศษที่ถูกดึงมาจาก IP Data จำนวนมากมายมหาศาล ข้อมูลเหล่านี้ล้วนมีแต่ข้อมูลที่มีความหมายหรือมีประโยชน์ซึ่งสามารถนำไปจัดระเบียบและนำไปวิเคราะห์เพื่อใช้งานต่อไปได้ หากบริษัทต่างๆ ใช้ Smart Data เพื่อวิเคราะห์เครือข่ายของตนเอง ก็จะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดได้แบบ real-time สิ่งนี้ทำให้องค์กรได้รับข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าเกี่ยวกับวิธีการทำงานของแอปพลิเคชันภายในเครือข่ายขององค์กร

ด้วยการเข้าถึง Smart Data องค์กรสามารถตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาดเกี่ยวกับวิธีเพิ่มประสิทธิภาพเครือข่ายและแอปพลิเคชัน รวมถึงการจัดสรรความจุเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ นอกจากนี้ Smart Data ยังช่วยเพิ่มความชัดเจนให้กับทั้งเครือข่าย ทำให้สามารถระบุความผิดปกติและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่บ่งชี้ถึงภัยคุกคามได้เร็วขึ้น หรืออาจเป็นปัญหาด้านประสิทธิภาพต่าง ๆ เนื่องจากองค์กรจำนวนมากใช้แอปพลิเคชัน IoT ในเครือข่าย ข้อมูลอัจฉริยะจึงมีความสำคัญต่อความสำเร็จ

เทคโนโลยีของ Edge Computing ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่ข้อดีนั้นไม่มีใครสามารถปฏิเสธได้ ทั้งการเพิ่มความเร็วในการประมวลผล, ลดเวลาในการรับ-ส่งข้อมูล และการประมวลผลข้อมูลแม้ในขณะที่ bandwidths ต่ำ ด้วยการใช้โซลูชันข้อมูลอัจฉริยะ บริษัทต่างๆ สามารถติดตาม ecosystem ได้แบบทันท่วงทีและระบุที่มาของปัญหาที่อาจส่งผลให้เกิดการชะงักงัน (ของระบบการทำงาน หรือ ระบบการผลิต) ได้

Source:
Toolmakers.co

Categories
Article

RPA เทคโนโลยีฝั่ง IT ที่คนอุตสาหกรรมควรรู้จัก

Robotic Process Automation (RPA) เป็นการใช้งานซอฟต์แวร์ในการบริหารจัดการข้อมูลแทนมนุษย์ ซึ่งกลายเป็นอีกเทคโนโลยีสำคัญที่ช่วยผลักดันการทำงานในยุคดิจิทัลสำหรับทางฝั่ง IT แต่ในวันนี้เราจะมาพูดคุยกันถึงเรื่องการใช้งานสำหรับกิจการโรงงานอุตสาหกรรมกันครับ

Categories
Article

ISO/IEC 27032:2012 คำตอบของมาตรฐานความปลอดภัยดิจิทัลสำหรับโรงงาน 4.0

ภัยจากการบุกรุกทางดิจิทัลกลายเป็นอีกหนึ่งมาตรฐานสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมยุค 4.0 ที่ต้องได้รับการดำเนินการป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ มิเช่นนั้นแล้วปัญหาที่เกิดขึ้นสามารถลุกลามไปได้ทั่วทุกระบบที่เกี่ยวข้อง วันนี้ผมจึงอยากจะพาไปรู้จักกับมาตรฐาน ISO/IEC 27032:2012 ซึ่งเป็นมาตรฐานความปลอดภัยดิจิทัลกันครับ

Categories
Article

เมื่อระบบอัตโนมัติครองโลก: IT’S ALL ABOUT AUTOMATION

Be it incorporating smart solutions or making use of IIoT, the modern shop floor in the automobile industry is dominated by automation.

อีกไม่นานด้วยเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติที่ไปไกลสุดหยั่ง เราจะมียานยนต์ขั้นสูงที่ติดต่อสื่อสารกันเองได้ จดจำพฤติกรรมและรูปแบบการขับขี่ของเราได้แบบทุกสถานการณ์ทางอารมณ์! ทั้งหมดนี้มาจากผลการเติบโตของระบบอัตโนมัติในตลาดโลก

ตลาดระบบอัตโนมัติด้านอุตสาหกรรมทั่วโลกคาดว่าจะทะลุถึง 321.93 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2024 คาดว่าการใช้งานระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นหนึ่งในแรงหนุนสำคัญของตลาดที่กำลังเติบโตนี้

Industry 4.0 ได้มอบแรงขับใหม่ๆ ให้กับอุตสาหกรรมการผลิตและได้แปลงเปลี่ยนภาคนี้ไปชนิดที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อันที่จริงหนึ่งในกลุ่มแกนหลักในแนวคิดใหม่นี้ก็คือ ‘ระบบอัตโนมัติ’ นั่นเอง จากรายงานโดย Zion Market Research ตลาดของระบบอัตโนมัติด้านอุตสาหกรรมจะถึง 321.93 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2024 รายงานยังระบุโดยคาดว่า ตลาดจะสร้างรายได้ประมาณ 321.93 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2024 เติบโตที่ CAGR ประมาณ 6.5% ระหว่างปี 2018 ถึงปี 2024 ไม่น่าแปลกใจที่ทุกวันนี้ทุกอุตสาหกรรมหลักของโลกจะใช้ระบบอัตโนมัติในกระบวนการของพวกเขา จากผลิตภาพที่สูงขึ้น รวมทั้งคุณภาพ ความยืดหยุ่น ความเที่ยงตรงแม่นยำของข้อมูล ต้นทุนที่ต่ำลงและความปลอดภัยที่สูงขึ้น ทั้งหมดนี้รวมกันเป็นข้อดีหรือข้อได้เปรียบหลากหลายประการของแนวคิดนี้

Automation in the automobile industry

ไม่ว่าจะเป็น Smart solutions ต่างๆ หรือการใช้ IIoT (Industrial Internet of Things) พื้นที่ปฏิบัติการที่ทันสมัย หรือ modern shop floor ในอุตสาหกรรมยานยนต์ล้วนแล้วแต่ถูกระบบอัตโนมัติเข้าไปจัดการครอบครองพื้นที่การผลิตแทบทั้งสิ้น ผู้ผลิตรถยนต์เช่น Tesla, Volkswagen, BMW, Toyota และผู้เล่นชั้นนำอื่นๆ ในอุตสาหกรรมนี้ต่างก็ใช้เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ หรือ Automation Technology ที่หลากหลายมากมายเพื่อนำมาตอบสนองความต้องการและเพิ่มศักยภาพในการผลิต และ automation solutions หลักๆ ที่มีความสำคัญ โดยมักถูกใช้ในพื้นที่ของอุตสาหกรรมยานยนต์ ได้แก่ collaborative robots  หรือ cobots และ cognitive computing หรือการประมวลผลเสมือนมนุษย์ในยานยนต์ที่เชื่อมต่อ IoT

Automation, Industry 4.0

Collaborative robots

Cobots เป็นหุ่นยนต์ที่ใช้งานง่าย น้ำหนักเบา และเคลื่อนย้าย-พกพาได้ง่าย หุ่นยนต์เหล่านี้ทำงานบนหลักการของ machine learning หรือการเรียนรู้ของเครื่องจักร และสามารถทำงานได้อย่างอิสระโดยไม่มีการแทรกแซงจากมนุษย์ Collaborative robots ช่วยในสายการผลิตผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงด้วยความแม่นยำสูงสุด โดยมี Universal Robots, Kuka, Rethink Robotics เป็นหนึ่งในกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ที่พัฒนา cobots สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตทั่วโลก

Cognitive computing in IoT connected cars

การประมวลผลเสมือนมนุษย์ หรือ Cognitive computing เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ  AI เป็นหลัก โดยใช้ประโยชน์จาก machine learning มีปฏิสัมพันธ์หรือการโต้ตอบระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ ด้วยการประมวลผลภาษามนุษย์ และแนวคิดที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ อีกมากมาย

BMW ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติเยอรมัน กำลังสำรวจแนวความคิดในการสร้างยานพาหนะอัตโนมัติ (autonomous vehicles) ด้วยการใช้ cognitive computing และ IoT มีการคาดว่า รถยนต์เหล่านี้จะสื่อสารกันเองได้ ทั้งยังสามารถจดจำรูปแบบการขับขี่ของผู้ขับขี่มนุษย์ในสถานการณ์ทางอารมณ์ได้! หากทดสอบสำเร็จยานยนต์อิสระเหล่านี้ก็จะกลายเป็นยานยนต์ไร้คนขับขั้นสูง

Motek 2019

ในสถานการณ์นี้ สิ่งสำคัญที่จะทำให้ตัวเองอัพเดทเกี่ยวกับเทคโนโลยีและโซลูชันล่าสุดที่มีอยู่ในพื้นที่ของระบบอัตโนมัติเสมอ บรรดาผู้เล่นในอุตสาหกรรมไม่ควรพลาดนิทรรศการเกี่ยวกับระบบอัตโนมัติระดับนานาชาติ อย่างงาน Motek ที่เมือง Stuttgart ประเทศเยอรมนีในเดือนตุลาคมระหว่างวันที่ 7- 10 เป็นงานแสดงสินค้า 4 วันที่คุณจะได้เห็นนวัตกรรมมากมายถูกนำมาจัดแสดงโดยชื่อชั้นระดับผู้นำจากโลกอุตสาหกรรม

ขอบคุณที่มาจาก  : www.toolmakers.co

อ้างอิง: https://www.etmm-online.com/its-all-about-automation-a-864259/

Categories
Article

6 เทรนด์ที่ต้องจับตามองในวงการหุ่นยนต์อุตฯ

การใช้งานออโตเมชันและหุ่นยนต์นั้นเป็นส่วนสำคัญในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยุคปัจจุบัน ซึ่งการแข่งขันภายใต้สภาวะการณ์ของเศรษฐกิจโลกที่ผันผวนรวมไปถึงการเติบโตของเทคโนโลยีที่รวดเร็วพอ ๆ กับน้ำแข็งขั้วโลกละลายนั้นทำให้เทรนด์ที่เกี่ยวข้องกับหุ่นยนต์อุตสาหกรรมในปัจจุบันเกิดการแปรเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วเช่นกัน

Categories
Article

SIMTEC แสงสว่างของแรงงานไทยยุค 4.0

สถาบันเทคโนโลยีการผลิตสุมิพล หรือ SIMTEC Institute ถือเป็นหนึ่งในหน่วยงานภาคเอกชนที่น่าจับตามองภายใต้ความร่วมมือระหว่าง 14 หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่ตั้งเป้าเพื่อพัฒนาแรงงานภายใต้สภาพแวดล้อมการทำงานของยุค 4.0 ซึ่งในวันนี้ เราจะพาคุณไปรู้จักกับ SIMTEC ให้มากยิ่งขึ้น